การศึกษาข้ามแดนไทย-กัมพูชา: ภาระ หรือ โอกาส
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การข้ามพรมแดนของเด็กชาวกัมพูชา ที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียนไทยในสามจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา (ตราด จันทบุรี และสระแก้ว) เพื่อให้ทราบถึงที่มาในการเข้ามาศึกษาในประเทศไทย ลักษณะการข้ามแดน เส้นทางการเดินทาง สาเหตุจูงใจในการศึกษาข้ามแดน และทัศนคติของชาวไทยที่มีต่อเด็กนักเรียนชาวกัมพูชาที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า การข้ามแดนของชาวกัมพูชาเข้ามาในไทยสืบเนื่องจากที่มาด้านประวัติศาสตร์ คือการอพยพลี้ภัยและการเสียดินแดน “เกาะกง” รวมทั้ง สาเหตุจากการติดตามผู้ปกตรองที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย นักเรียนกัมพูชามีทั้งที่พำนักถาวรในประเทศไทย และพำนักอยู่ที่กัมพูชาโดยเดินทางผ่านจุดผ่านแดนเข้ามาเรียนทุกวัน แรงดึงดูดในการข้ามมาศึกษาในประเทศไทย ประกอบด้วย ความต้องการเรียนรู้ภาษาไทย คุณภาพทางการศึกษาของไทย ความสัมพันธ์ทางสายเลือด และความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ทัศนคติของชาวไทยที่ใกล้ชิดกับเด็กกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก โดยสรุป หากพิจารณาสภาพการณ์การศึกษาข้ามแดนของเด็กกัมพูชาแล้ว ประเทศไทยจะสามารถแปรเปลี่ยนภาระให้เป็นโอกาสที่ย้อนกลับมาในหลายด้าน ทั้งการแก้ปัญหาทางสังคมด้านต่างๆ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับนานาชาติ การแก้ปัญหาความขัดแย้งและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายและการพัฒนาภูมิภาค และการถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรมไทย
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.