ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยกลุ่มเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่

Main Article Content

ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบวรรณยุกต์และลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในภาษาไทย กรุงเทพฯ ที่ออกเสียงโดยกลุ่มเด็กอายุ 6-7 ปี ซึ่งพูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (MBKK) และในจังหวัดปัตตานี (MPTN) นอกจากนี้ยังได้ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของผู้พูดภาษาไทยกรุงเทพฯ เป็นภาษาแม่ (TBKK) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการอ้างอิงด้วย ผลการศึกษาพบว่า สัทลักษณะของวรรณยุกต์เอก โท และจัตวาของทั้ง 3 กลุ่มมีลักษณะคล้ายกัน วรรณยุกต์โทมีพิสัยค่าความถี่มูลฐานกว้างที่สุดในผู้บอกภาษาทั้ง 3 กลุ่ม วรรณยุกต์สามัญของกลุ่มผู้บอกภาษา TBKK มีพิสัยค่าความถี่มูลฐานแคบที่สุด และวรรณยุกต์เอกมีพิสัยค่าความถี่มูลฐานแคบที่สุดในกลุ่มผู้บอกภาษา MBKK และ MBTN วรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยกลุ่มผู้บอกภาษา MBKK มีพฤติกรรมของค่าระยะเวลาเช่นเดียวกับของกลุ่มผู้บอกภาษา TBKK กล่าวคือ วรรณยุกต์จัตวา มีค่าระยะเวลามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ วรรณยุกต์ตรี  สามัญ เอก และโท ตามลำดับ ส่วนกลุ่มผู้บอกภาษา MPTN วรรณยุกต์จัตวามีค่าระยะเวลามากที่สุด และวรรณยุกต์โทมีค่าระยะเวลาน้อยที่สุด แต่วรรณยุกต์สามัญมีค่าระยะเวลามากกว่าวรรณยุกต์เอก และตรี ตามลำดับ

Article Details

Section
Research Articles