บทวิเคราะห์นักสื่อสารสุขภาพตามแนวปัญจางควิธี
Main Article Content
Abstract
ภารกิจสำคัญของ นักสื่อสารสุขภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนรูปการสื่อสารด้านสุขภาพ จากการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ไปเป็น การสื่อสารสองทาง โดยมีจุดหมายให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้านการสื่อสารสุขภาพ บทความนี้ เป็นบทวิเคราะห์ประสบการณ์การพัฒนานักสื่อสารสุขภาพ ซึ่งดำเนินงานโดยแผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพของประชาชน ด้วยการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาพ” ขึ้นในท้องถิ่น โครงการฯ ได้ดำเนินงานในพื้นที่ 11 จังหวัด ระหว่างเดือนเมษายน 2552 ถึง เดือน กันยายน 2553 ผู้เขียนใช้แนวทาง อภิชาติพันธุ์วรรณา และประยุกต์แนวคิดปัญจางควิธี ของ เคนเนท เบิร์ก เป็นกรอบความคิดในการศึกษา บทความนี้เสนอข้อสรุปว่า นักสื่อสารสุขภาพ เป็นปฏิบัติการทางสังคม ที่จะเปลี่ยนรูปแบบแผนของการการสื่อสารสุขภาพ ให้อำนาจการสื่อสารอยู่ในมือประชาชนมากขึ้น โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนที่เกี่ยวข้อง ผลของการดำเนินงานมีส่วนช่วยให้เกิดความเป็นธรรมทางการสื่อสารให้เพิ่มมากขึ้น
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.