สื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่องสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อพัฒนาสุขภาวะเยาวชนแก่ชุมชน รวมทั้งวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ด้านสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน ดำเนินงานโดยจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ กิจกรรมเสริมศักยภาพ 3 ระยะ ติดตามให้คำปรึกษาแก่ชุมชน และถอดบทเรียนเพื่อสร้างความรู้ ปรากฏว่ามีชุมชนร่วมงาน 20 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ เป็นสื่อการแสดงและการละเล่น มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 1,377 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน และได้รับการสนับสนุนจากภายในและนอกชุมชน
ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการดำเนินงานโครงการมี 7 ขั้นตอน คือ 1)คัดเลือกเยาวชน 2) เยาวชนเรียนรู้เรื่องราวสื่อพื้นบ้านและชุมชน 3) สอน 4) ฝึกฝน 5) นำเสนอผลงานต่อชุมชน 6) ประเมินผลงาน และ 7) เชื่อมต่อกับชุมชนและสังคม เยาวชน ได้รับความรู้เกี่ยวกับชุมชนและสื่อพื้นบ้าน และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ร่วมชื่นชม ภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ต้องการรักษาสื่อพื้นบ้าน ไม่เขินอายในวัฒนธรรมของตน ครูศิลปิน เรียนรู้วิธีการถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชน ภาคภูมิใจในตัวเอง กลับมาเห็นคุณค่าและมั่นใจในสื่อพื้นบ้านชุมชน เกิดความภาคภูมิใจในเยาวชน เกิดความสัมพันธ์ในชุมชน เรียนรู้การจัดการทรัพยากรและการจัดการสื่อพื้นบ้าน สามารถสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง สื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน 7 ประเด็น คือ 1) ทัศนคติ เจตนารมณ์ และบุคลิกภาพของผู้ดำเนินงานมีผลต่อความสำเร็จของงาน 2) เนื้อหาเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิต 3) สื่อพื้นบ้านมีคุณลักษณะและธรรมชาติเฉพาะตัวซึ่งทำให้มีความแตกต่างในการดำเนินงาน 4) พื้นฐานความสนใจและโอกาสของการมีส่วนร่วมของเยาวชนเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงาน 5) วิธีการและเป้าหมายของการถ่ายทอดความรู้จากครูศิลปินสู่เยาวชนแตกต่างกัน 6) สื่อพื้นบ้านมีบทบาทการสร้างสุขภาวะเยาวชนในด้านจิตวิญญาณ และ 7) การเผยแพร่เรื่องราวและคุณค่าสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น ทำให้สื่อพื้นบ้านและชุมชนเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ
ชุมชนควรบูรณาการสื่อพื้นบ้านเข้าไว้ในแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหน่วยงานวัฒนธรรมควรสนับสนุนด้านวิชาการ และประสานการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการรื้อฟื้นสื่อพื้นบ้านร่วมกับชุมชน เพื่อคงไว้ซึ่งความรู้สึกเป็นเจ้าของในสื่อพื้นบ้าน
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.