พิธีกรรมงานศพแบบล้านนา: สื่อพิธีกรรมกับความเข้มแข็งของชุมชน

Main Article Content

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย
กาญจนา แก้วเทพ

Abstract

บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าพิธีกรรมงานศพแบบล้านนาเป็นสื่อพิธีกรรม ผู้เขียนวิเคราะห์เอกสารควบคู่กับการวิจัยภาคสนามโดยสังเกตการณ์พิธีกรรมงานศพงานหนึ่งในหมู่บ้าน บ้านดง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

จากการวิเคราะห์เอกสารพบว่า ในอดีต งานศพแบบล้านามีบทบาทในเชิงสังคมวัฒนธรรม กิจกรรมต่างๆ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือครอบครัวผู้ตายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเศรษฐกิจ ผู้หญิงจะช่วยกันเตรียมอาหารและสิ่งของ ในขณะที่ผู้ชายทำงานช่าง เช่น การทำโลงศพ สิ่งของในพิธีกรรม เช่น ตุงสามหาง หรือห่อข้าวด่วน เป็นชุดของสัญญะที่แสดงให้เห็นความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับโลกที่ทับซ้อนของคนเป็นและคนตาย รวมถึงชี้ว่าความตายเป็นสัจธรรมของทุกชีวิต

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ในงานศพและสัมภาษณ์ผู้มาร่วมงาน พบว่าแต่ละครอบครัวจะต้องนำข้าวสารอย่างน้อย 2 ลิตรมามอบให้ครอบครัวผู้ตายเพื่อเลี้ยงดูแขกในงานผู้คนยังคงช่วยกันทำอาหารและเข้าป่าเพื่อหาไม้ฟืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ชุมชนได้พยายามรื้อฟื้นกิจกรรมทำโลงศพและปราสาทศพขึ้นอีกครั้ง และประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมในปีพ.ศ. 2548

กิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้พิธีกรรมงานศพแบบล้านนาเป็นสื่อพิธีกรรม โดยเชื่อมโยงให้ผู้คนมาสัมพันธ์กันเพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สิ่งของและกิจกรรมในงานศพส่งผลต่อการรับรู้ของคนที่มีต่อตนเองและอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มในฐานะผู้พึ่งพาตนเอง

Article Details

Section
Research Articles