การพัฒนาระบบเขียนภาษามลายูปาตานีด้วยอักษรยาวี เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น: กรณีศึกษา ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

กามารุดดีน อิสายะ
จารุวัจน์ สองเมือง
อับดุลการีม สาเม็ง
ฮาเร๊ะ เจ๊ะโด

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบเขียนภาษามลายูปาตานีด้วยอักษรยาวีที่เหมาะสมกับการใช้และแทนเสียงเพื่อการอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมมลายูปาตานี และเพื่อหาแนวทางการนำระบบเขียนด้วยอักษรยาวีที่พัฒนาได้ไปประยุกต์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษามลายูปาตานี จากการวิจัยพบว่า ภาษามลายูปาตานีสามารถนำอักษรยาวีที่ใช้โดยทั่วไปทั้งหมด 35 ตัวอักษร มาใช้เขียนคำทั้งที่เป็นคำภาษามลายูปาตานี คำยืมในภาษาอาหรับ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในภาษามลายูปาตานีมีหน่วยเสียงพยัญชนะที่มีการพัฒนาออกแบบสัญลักษณ์รูปอักษรเพิ่มเติม 8 หน่วยเสียง คือหน่วยเสียงหยุดพ่นลม /ph, th, ch, kh/ใช้แทนสัญลักษณ์อักษร ك , ش , ت , ڤ ตามลำดับ และหน่วยเสียงกึ่งนาสิก /mb, nd, j, ŋg/ ใช้แทนสัญลักษณ์อักษร ڠ , ڽ , ن , مْ ตามลำดับ ในการพัฒนาระบบเขียนอักษรสระภาษามลายูปาตานีพบว่า เนื่องจากอักษรสระรูปยาวีที่ใช้โดยทั่วไปมี 3 รูปอักษรเท่านั้น คือ و , ا และ ي จึงไม่สามารถรองรับหน่วยเสียงสระอื่นๆ ในภาษามลายูปาตานีได้ครบทุกหน่วยเสียง ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาออกแบบสัญลักษณ์รูปอักษรสระเพิ่มเติมอีกบางรูปอักษรสำหรับบางหน่วยเสียงสระ ได้แก่หน่วยเสียง /e, ε, o, , ε, ã, ũ, , a-i, a-e, a-ε, ao/ซึ่งใช้แทนสัญลักษณ์อักษร ي , ا و , و , ٍ ي , ِ ي -ٍ , و , آ  , , ا ءِِي , اءٍي , آ و اء وْ ตามลำดับ การพัฒนาระบบเขียนอักษรยาวีในครั้งนี้ได้เลือกใช้สัญลักษณ์ที่มีในอักษรอาหรับ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักของคนมุสลิมทั่วไป และสามารถนำมาใช้ร่วมกับอักษรยาวีได้เป็นอย่างดี และจากการทดลองใช้ระบบเขียนที่ได้พัฒนาขึ้นมานี้ พบว่า สามารถบันทึกคำต่างๆ ในภาษามลายูปาตานีได้ทุกหน่วยเสียง เป็นระบบเขียนที่สามารถเป็นเครื่องมือในการบันทึกคำศัพท์ต่างๆ ในภาษามลายูปาตานี และสามารถใช้ในการบันทึกองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และเป็นระบบเขียนที่สามารถเรียนรู้ได้ง่ายอีกด้วย

Article Details

Section
Research Articles