การวิเคราะห์อรรถลักษณ์เชิงเปรียบเทียบคำเรียกญาติในภาษาลาว กึมหมุ และมลายู
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำเครือญาติในภาษาลาว ภาษากึมหมุ และภาษามลายู โดยใช้วิธีวิเคราะห์อรรถลักษณ์ (Componential Analysis) วิเคราะห์ความหมายของคำเครือญาติ เพื่อหาองค์ประกอบทางความหมายที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นคำเครือญาติในแต่ละคำ รวมถึงการวิเคราะห์ความหมายของแต่ละคำ เพื่อสะท้อนให้เห็นวิธีคิดของคนในแต่ละสังคม และตีความผลที่ได้จากการวิเคราะห์อรรถลักษณ์ โดยใช้แนวคิดทางมานุษยวิทยา (Anthropological Concept) ช่วยในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางครอบครัวและสังคม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงมโนทัศน์ที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างภาษาลาว ภาษากึมหมุ และภาษามลายู ในกรณีการใช้คำเครือญาติ สุดท้าย คือการใช้ทฤษฏีสตรีนิยมเพื่อตรวจสอบคำที่ใช้ว่ามีความแตกต่างกันทางความหมายของคำเครือญาติซึ่งมีนัยทางสังคมที่ถูกประกอบสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความแตกต่างทางเพศภาวะ (Gender) สะท้อนการให้คุณค่าแก่สถานภาพทางเพศในสังคมลาว สังคม กึมหมุและสังคมของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู (ที่พูดภาษามลายูปาตานี) ผ่านระบบคิดของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
จากการวิเคราะห์อรรถลักษณ์เครือญาติในภาษาลาว ภาษากึมหมุและภาษามลายู ผู้เขียนพบว่าการศึกษาคำเครือญาติได้สะท้อนให้เห็นวิธีคิดและบทบาทของสมาชิกในครอบครัวและภาพความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภายในครอบครัวและสังคม โดยพื้นฐาน ทั้งสามภาษาประกอบขึ้นตามองค์ประกอบหลัก 5 ประการคือ 1) ลักษณะทางเพศสรีระ 2) การจัดลำดับของความอาวุโส 3) ชั่วอายุคน 4) ความสัมพันธ์ทางชีววิทยา และ 5) ความสัมพันธ์ตามเพศที่ให้กำเนิด เช่น พ่อ แม่ และ ลูก แต่ปรากฏมีบางคำที่มีความคาบเกี่ยวกันหรือปฏิเสธบางองค์ประกอบ บางคำขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานะที่อยู่ในความสัมพันธ์นั้น
นักสตรีนิยมมองระบบเครือญาติผ่านหน้าที่ของครอบครัวโดยสัมพันธ์กับพื้นที่ บทบาททางเพศไม่ควรถูกกำหนดเพียงแบบใดแบบหนึ่งที่ตายตัวเท่านั้น เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนักสตรีนิยมเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและความเชื่อ ควรเป็นการปรับเปลี่ยนที่ไร้อคติทางเพศ โดยพยายามชี้ให้เห็นถึงการให้ความหมายใหม่แก่คำว่าครอบครัวมากกว่าความหมายหนึ่งเพียงความหมายเดียว
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.