“ดิ่ง”: พิณดาระอาง (ปะหล่อง)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น ในงานทางมานุษยวิทยาการดนตรี โดยศึกษา “ดิ่ง” เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของชาวดาระอาง (ปะหล่อง) ที่หมู่บ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียง ลักษณะการบรรเลง และบทเพลงของชาวดาระอาง ผลการศึกษาพบว่า “ดิ่ง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด มีลักษณะคล้ายพิณ 3 สาย มีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ 1.ตัวดิ่ง ประกอบด้วย หัวดิ่ง คอดิ่ง และลำตัว (กล่องเสียง) 2.หย่อง (วัสดุรองสาย) 3. ไม้ดีด และ 4.สายดิ่ง มีการตั้งเสียงตามลักษณะของบทเพลง ซึ่งบทเพลงของดาระอางพบว่ามี 2 ลักษณะคือ 1. เพลงที่มีโครงสร้างชัดเจน เป็นเพลงที่มีร้องประกอบ มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนทำนองหลัก และส่วนจบ โดยส่วนทำนองหลักถือเป็นส่วนสำคัญที่บ่งบอกถึงชื่อของเพลงนั้น 2. เพลงที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น เป็นเพลงที่ไม่มีการร้องประกอบ เพลงมีโครงสร้างไม่ชัดเจน แต่มีวลีที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งบ่งบอกถึงชื่อของเพลงนั้น
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.