ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.284906คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ความสุขในการทำงาน, บริษัทเอกชนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานในองค์การให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ การทำงานภายในองค์การจำเป็นที่จะต้องมีความสุขควบคู่ไปด้วย เพราะความสุขมีผลต่อการพัฒนาบุคคลและองค์การไปในทิศทางที่ดี อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางการพัฒนาองค์การและประเทศได้ในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 และใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ
ผลการวิจัย: (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.9 มีอายุ 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.0 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 54.5 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50.9 มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 34.5 และมีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.6 และ (2) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.92, S.D = .847) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน รองลงมาคือ ภาวะผู้นำแบบมีส่วน และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ภาวะผู้นำแบบสั่งการ ( = 3.90, S.D = .843)
สรุปผล: จากการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน ส่งผลต่อความสุขในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ภาวะผู้นําแบบสนับสนุน และภาวะผู้นําแบบมีส่วนร่วม
References
จันทรัตน์ ชนมงคล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร สำนักงานเขตคลองสามวา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ณัฐชนนท์ คงอยู่. (2565). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 2641-5658.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล.
รวินันท์ สุดเจริญ. (2563). การศึกษาความสุขในการทํางานของบุคลากรองค์การบริหารส่วน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และธุรกิจบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Retrieved from: http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_bangkok14_09092021/6217950052.pdf
รุจิกร ตุลาธาร. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี และนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วีรภัทร สภากาญจน์ (2565). การสร้างความสุขในการทำงานยุค NEW NORMAL. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 403 – 404.
Cochran, W.G. 1953. Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.
House, R., & Mitchell, R. (1974). Path-Goal Theory of Leadership. Journal of Contemporary Business. 9, 81-98.
Ramlall, S. (2004). A review of employee motivation theories and their implications for employee retention within organizations. Journal of American Academy of Business, Cambridge, 5(1/2), 52-63.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ