แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการหยิบสินค้าด้วยการปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) และกระบวนการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทผู้จัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปจากมะพร้าวแห่งหนึ่ง
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282256คำสำคัญ:
การหยิบสินค้า, ระบบการจัดการคลังสินค้า, ประสิทธิภาพการหยิบสินค้าบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูปจากมะพร้าวซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการหยิบสินค้าในบริษัทผู้จัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปจากมะพร้าว โดยเน้นการปรับปรุงทั้งระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) และกระบวนการทำงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการหยิบสินค้าด้วยระบบ WMS กับกระบวนการทำงานของบริษัทกรณีศึกษา 2) เพื่อสร้างแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการหยิบสินค้าด้วยระบบ WMS กับกระบวนการทำงานของบริษัทกรณีศึกษา
ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยปฏิบัติการ เก็บข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน และสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่คลังสินค้า 18 คน (3 กลุ่ม) ศึกษาสภาพปัญหา 1 เดือน ออกแบบและทดลองแนวทางแก้ไข 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อน-หลังด้วย Independent t-test
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบปัญหาสำคัญ 3 ประการในกระบวนการหยิบสินค้า 1) ระบบ WMS ขาดความยืดหยุ่นการสร้างคำสั่งโอนสินค้า (TO) ถูกกำหนดตายตัวกับหมายเลขพาเลท ไม่สามารถหยิบสินค้าจากตำแหน่งอื่นได้แม้เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน เกิดการหยิบสินค้าแบบไม่เต็มพาเลท (Pick Partial) บ่อยครั้ง ส่งผลให้ใช้พื้นที่คลังสินค้าไม่มีประสิทธิภาพและส่งสินค้าไม่ครบตามคำสั่งขาย 2) ความไม่สอดคล้องระหว่างระบบกับนโยบายการหยิบสินค้า ระบบไม่รองรับการหยิบสินค้าแบบ FIFO และ Wave Picking อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความขัดแย้งระหว่างการทำงานของระบบและกระบวนการปฏิบัติงานจริง 3) ข้อจำกัดด้านเวลาและปริมาณงาน ไม่สามารถหยิบสินค้าได้ทันและครบตามคำสั่งซื้อ มีข้อจำกัดด้านเวลาในการหยิบสินค้า (10:00 น. - 16:00น.) ส่งผลกระทบต่อมิติด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือในการจัดส่งสินค้า ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ผู้วิจัยได้เสนอและทดลองใช้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพดังนี้ 1) ปรับปรุงระบบ WMS ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เปลี่ยนจากการจองหมายเลขพาเลทสินค้าแบบ FIFO เป็นการอ่านหมายเลขพาเลทสินค้าทั้งหมดที่มีรุ่นผลิตเดียวกันแบบ FIFO ใช้การสแกนบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านแบบพกพาเพื่อกำหนดรุ่นผลิตและยืนยันการหยิบสินค้า 2) นำแนวคิด Cluster Picking มาใช้ร่วมกับ Wave Picking แบ่งความรับผิดชอบในการสร้าง TO ตามกลุ่มสินค้า จากผลการทดลองใช้แนวทางเป็นเวลา 1 เดือน (26 วันทำงาน) พบว่า ประสิทธิภาพการหยิบสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกมิติ ร้อยละจำนวนขาดส่งลดลงจาก 6.785% เหลือ 0.147% ร้อยละมูลค่าขาดส่งลดลงจาก 4.828% เหลือ 0.162% อัตราเวลาการหยิบสินค้าดีขึ้นจาก 33.837 ลัง/นาที เป็น 23.644 ลัง/นาที ความแปรปรวนของข้อมูลลดลง โดยเฉพาะในมิติด้านต้นทุน แสดงถึงความสม่ำเสมอที่มากขึ้นในการดำเนินงาน แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในทุกตัวชี้วัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ WMS และกระบวนการทำงานตามแนวทางที่นำเสนอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการหยิบสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในด้านความน่าเชื่อถือ ด้านต้นทุน และด้านเวลา ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสามารถแก้ไขปัญหาการหยิบสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2567). Industrial Logistics Performance Index..Key Success Factor ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์.ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. Retrieved July 14, 2024. https://dol.dip.go.th/en/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-09-09-00
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2563). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2562). การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.
จุฑาทิพย์ อรศรี และนันทิ สุทธิการนฤนัย. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการในคลังสินค้าเครื่องสำอางนำเข้า. In Proceeding of Thai VCML 2016: การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประจำปีด้านการจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 16, 1-10
ธนิต โสรัตน์. (2564). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเชิงธุรกิจ. วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์.
นฤภร นิลนิสสัย และปิยะเนตร นาคสีดี. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท เครื่องดื่มรังนก ABC จำกัด. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564. 287-598.
นิธิศ ปุณธนกรภัทร์ และชัชพล มงคลิก. (2559). การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับ คลังกล่องบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร. Industry Technology Lampang Rajabhat University, 9(1), 12-12.
ประมวล พรมไพร, ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์ และนัทธ์หทัย อือนอก. (2563). ปัจจัยในการจัดการคลังสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(2), 140-149
วิไล พึ่งผล, ดวงใจ จันทร์ดาแสง และประสพชัย พสุนนท์. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารระบบคลังสินค้าเพื่อ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ยุคประเทศไทย 4.0 จังหวัดชลบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 9(2), 467-485.
ศศิวรรณ เสรี. (2563). การปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานฟอกย้อมเครื่องหนังสำเร็จรูป. Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3825.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2565. กระทรวงพาณิชย์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ระยะ 5 ปี. Retrieved July 14, 2024. https://www.oae.go.th/view/1/หน้าแรก/TH-TH
สำนักโลจิสติกส์. (2556). ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI). [รายงาน]. กรุงเทพฯ: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
สุนิสา โพธิ์พรม, และ กาญจนา กาญจนสุนทร. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการหยิบสินค้าด้วยการจัดเรียงสินค้าตามความถี่ในการเบิกใช้: กรณีศึกษาคลังสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31(2), 308-317.
Alhaj, J., & Darman, R. (2024). Improving the material flow through just-in-time. Retrieved July 14, 2024. From: https://www.diva-portal.org/smash/record.jsf?dswid=8153&pid=diva2%3A1867714
Amorim‐Lopes, M., Guimarães, L., Alves, J., & Almada‐Lobo, B. (2021). Improving picking performance at a large retailer warehouse by combining probabilistic simulation, optimization, and discrete‐event simulation. International Transactions in Operational Research, 28(2), 687-715.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334.
De koster, R. (2004). How to access a warehouse operation in a single tour. McGraw-Hill.
Guerrazzi, E., Mininno, V., & Aloini, D. (2024). Balancing picking and outbound loading efficiency in an SBS/RS through a digital twin. Flexible Services and Manufacturing Journal, 1(49). DOI:10.1007/s10696-024-09554-w
Gwynne, R., & Susan, G. (2024). The Logistics and Supply Chain Toolkit. Koogan Page.
Muller, M. (2019). Essentials of inventory management (3rd ed.). HarperCollins Leadership.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). McGraw-Hill.
Padhil, A., Rini, A. S., & Husni, A. M. (2023). Identifikasi Pengaruh Penerapan Warehouse Management System (WMS) terhadap Kinerja Gudang Finish Good pada PT. Triteguh manunggal sejati gowa. Jurnal Ilmiah Teknik dan Manajemen Industri, 3(1), 46-52.
Redmer, A. (2020). Analysis of the length of order-picking paths determined using the S-shape method. LogForum, 16(1), 33-46.
Richards, G. (2018). Warehouse management: A complete guide to improving efficiency and minimizing costs in the modern warehouse (2nd ed.). Kogan Page.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Shanmugamani, K., & Mohamad, F. (2023). The implementation of warehouse management system (wms) to improve warehouse performance in business to business (B2B). International Journal of Industrial Management, 17(4), 231-239.
Vijayakumar, V., & Sgarbossa, F. (2021). A literature review on the level of automation in picker-to-parts order picking system: research opportunities. IFAC-PapersOnLine, 54(1), 438-443.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ