การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282249คำสำคัญ:
โปรแกรม, การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถ ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินโปรแกรมการความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6
ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แบบวัดพฤติกรรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และประชุมการสัมมานาอิงผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (Paired-Sample t-test)
ผลการวิจัย: (1) ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (1.1) การกำหนดประเด็นค้นคว้า (1.2) การตั้งเป้าหมาย (1.3) การกำหนดวิธีค้นคว้าและดำเนินการ (1.4) การคาดการณ์ ผลลัพธ์และการกระทำ (2) ผลการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการประชุมการสัมมานาอิงผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ (3) ผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 นักเรียนสามารถการคิดแก้ปัญหา และ (4) การประเมินโปรแกรมโดยครูผู้จัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ระดับมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
สรุปผล: แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ป.6 มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดประเด็นค้นคว้า ตั้งเป้าหมาย วิธีค้นคว้า และคาดการณ์ผลลัพธ์ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ตามการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ โปรแกรมช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ครูประเมินโปรแกรมว่าเหมาะสมที่สุด โปรแกรมนี้เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ป.6
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์.
พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิศริยา ทองงาม. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบนําตนเองวิชาวิทยาศาสตรระดับปริญญาตรีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรรค์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Birenbaum, M. (2002). Assessing self-directed active learning in primary schools. Journal of Educational Psychology, 94(3), 443-454.
Boyer, S.L., Edmondson, D.R., Artis, A.B., & Fleming, D. (2014). Self-directed learning: A tool for lifelong learning. Journal of Marketing Education, 36(1), 20-32.
De Corte, E., Verschaffel, L., Entwistle, N. and Van, M.J. (2004). Learning to solve complex problems: An instructional design perspective. Instructional Science, 32(4), 235–246.
Deci, E.L., & Ryan, R.M. (1985). Intrinsic motivation and self-determination in human behavior. New York, NY: Plenum.
Hiemstra, R. (1994). Self-directed learning. In T. Husen and T.N. Postlethwaite (Eds.), The International Encyclopedia of Education (2nd ed.). Oxford: Pergamon Press.
Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Association Press.
Kuhlthau, C.C., Maniotes, L.K. and Caspari, A.K. (2015). Inquiry-based learning in school libraries. In P. Johnston and K. Hayes (Eds.), Guided inquiry design: A framework for inquiry in your school (pp. 75-92).
Sallis, J. F., Hovell, M. F., Hofstetter, C. R., & Barrington, E. (1992). Explanation of vigorous physical activity during two years using social learning variables. Social Science & Medicine, 34(1), 25–32. https://doi.org/10.1016/0277-9536(92)90063-V
Zimmerman, B. J. and Schunk, D. H. (2010). Self-Regulated Learning and Academic Achievement: Theoretical Perspectives (2nd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ