โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282248

คำสำคัญ:

โปรแกรม, แรงจูงใจในการศึกษา, สายอาชีพ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนานักเรียนในหลายมิติ โดยเฉพาะในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคต ทางการศึกษา ซึ่งมีความสำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอาชีพ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 250 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างโปรแกรม 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนในการเสริมสร้างแรงจูงใจ ในการศึกษาต่อสายอาชีพ 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านด้านการวิจัยและประเมินผล และ 5)ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t–test

ผลการวิจัย: 1) โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของผู้วิจัยประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพเป็นการพัฒนาด้านจิตพิสัย 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน (1.1) ด้านการรับรู้ (1.2) ด้านการตอบสนอง (1.3) ด้านการเห็นคุณค่า (1.4) ด้านการจัดระบบ (1.5) ด้านการสร้างลักษณะนิสัย ส่วนที่ 2 จุดมุ่งหมายของโปรแกรม ส่วนที่ 3 เนื้อหาสาระของโปรแกรม ส่วนที่ 4 กิจกรรมพัฒนาเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพ ส่วนที่ 6 การวัดและประเมินผล ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 2) ผลการทดสอบแรงจูงใจก่อนและหลังของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ ในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมาก

สรุปผล: ผลการวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กิจกรรม การวัดผล และการประเมินผล พบว่า แรงจูงใจของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2564. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัชวาลย์ ยอดมั่น. (2565). แนวคิดและการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิชาการ.

พีชาณิกา เพชรสังข์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 424-239.

ไพศาล วรคํา. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ภานุพงศ์ ลิมปนะวงศานนท์. (2564). แนวทางการบริหารจัดการต่อการเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษา ต่อสายอาชีวศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(2).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). ความสำคัญระบบอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. Handbook: The Cognitive Domain. David McKay, New York.

Boone, L.E. (1992). Professional development programs: A guide to effective practices. Journal of Continuing Education, 23(2), 15-29.

Card, D., Kluve, J., & Weber, A. (2010). What Works? A Meta Analysis of Recent Active Labor Market Program Evaluations. Labour Economics, 17(4), 604-634.

Deci, E. L., & Ryan, R.M. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 55(1), 68-78.

Deci, E.L., & Ryan, R.M. (2000). The “what” and “why” of goal pursuits: Human needs and the self-determination of behavior. Psychological Inquiry, 11(4), 227-268.

Discover, E. (2023). Secondary vocational education and academic motivation in Sint Maarten. In Academic motivation and vocational education. Springer. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.1007/s44217-024-00266-9.

Dweck, C.S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House.

Klein, P. (2018). Motivation in vocational education: Exploring the links to academic achievement. International Journal of Educational Development, 32(1), 77-98.

Marzano, R.J. (2007). The art and science of teaching: A comprehensive framework for effective instruction. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development (ASCD).

Parker, A., & Field, S. (2022). Addressing the skills gap: The role of vocational education in workforce development. Journal of Labor Economics, 29(2), 77-78.

Rogers, T. B. (2000). The Psychological Testing Enterprise. New York: Brooks/Cole Pub Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-09

How to Cite

ศรีกุลคร ค. ., วรคำ ไ. . ., & ซุยกระเดื่อง อ. . (2025). โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 825–836. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282248

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ