การพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://orcid.org/0009-0002-2170-1976
  • นพพล จันทร์กระจ่างแจ้ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://orcid.org/0009-0001-6567-0174

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282070

คำสำคัญ:

ความฉลาดรู้การอ่าน, การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus, ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี, พัฒนาการสัมพัทธ์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความฉลาดรู้การอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญทำให้เกิดปัญญา ความคิด ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารมีความหลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย ผู้วิจัยจึงนำการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี 2) ประเมินพัฒนาการความฉลาดรู้การอ่านภายหลัง การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์ คลองหลวงวิทยาคม ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน ผลการประเมินความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบความฉลาดรู้การอ่าน ผลการประเมินค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.73 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าพัฒนาการสัมพัทธ์

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ความฉลาดรู้การอ่านในภาพรวม อยู่ในระดับสูงมาก (x̅ =75.55)

สรุปผล: การพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วยให้ครู สถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา มีแนวทาง ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้การอ่าน สำหรับนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อยกระดับความสามารถในการอ่าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญฤทัย สูตรเลข และ ดวงจันทร เดี่ยววิไล. (2563). ความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทยการพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(3), 33-40.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2561). ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2561. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นูรไอนี ดือรามะ และ ณัฐินี โมพันธ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 12(22), 77-91.

บุญชม ศรีสะอาด. (25F60). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2561). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟาร่า สุไลมาน และ นูรอัสวานี บอตอ. (2566). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่บูรณาการบริบท้องถิ่นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในจังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6) .กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ผลการประเมิน PISA 2022. Retrieved on 3 December 202023 from https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). กรอบการประเมิน ด้านการอ่าน. Retrieved on 3 December 2023 from https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/reading_literacy_framework/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2566). สรุปข้อมูลนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566. ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2567). ประวัติความเป็นมาจังหวัดปทุมธานี. Retrieved on 23 March 2023 from: http://www2.pathumthani.go.th

Anderson, L W., & Krathwohl D R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.

Cain, K., & Oakhill, J. (2020). Reading comprehension and vocabulary: The chicken and the egg? Reading Research Quarterly, 55(1), 65-80.

Carr, E., & Ogle, D. (2004). K-W-L Plus: A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30(1), 626-631.

Ogle, D. M., (2010). KWL-Plus: A Strategy to Help Students Learn from Text. The Reading Teacher. 64 (5), 352-356.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-06

How to Cite

ศรีเอี่ยม ส., & จันทร์กระจ่างแจ้ง น. . (2025). การพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 541–556. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282070

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ