วัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282022คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ประสิทธิภาพ, การบริหารงานบุคคลบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ระบบบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ้นจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงาน และส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่น ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารและประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 2) อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 181 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.88) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอศรีสงคราม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.99) ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอศรีสงคราม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.93) 2. ตัวแปรวัฒนธรรมองค์การสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม ได้ร้อยละ 84.10 (R2Adj=.841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรวัฒนธรรมองค์การ พบว่า วัฒนธรรมปรับตัว (β=.653) และวัฒนธรรมพันธกิจ (β=.264) ยกเว้นวัฒนธรรมส่วนร่วม และวัฒนธรรมเอกภาพ ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม ได้ร้อยละ 90.70 (R2Adj=.907) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร พบว่า ด้านความใส่ใจในระยะยาว (β=.510) ด้านความยุติธรรม (β=.154) ด้านการแนะนำด้านจริยธรรม (β=.153) และด้านการแบ่งปันอำนาจ (β=.116) ยกเว้นด้านความชัดเจนในบทบาท ด้านการดูแลผู้อื่น และด้านความซื่อสัตย์ สรุป วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคลากรทุกด้าน รวมทั้งมีผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ และประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย นอกจากนั้นภาวะผู้นำจริยธรรมซึ่งเป็นรูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่ที่นับว่าสอดคล้องกับโลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ซึ่งองค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องมีผู้นำที่สามารถเป็นต้นแบบในการทำงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้น วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร เป็นปัจจัยอื่นที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอย่างยิ่ง
สรุปผล: วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคลากรทุกด้าน รวมทั้งมีผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ และประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย นอกจากนั้นภาวะผู้นำจริยธรรมซึ่งเป็นรูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่ที่นับว่าสอดคล้องกับโลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ซึ่งองค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องมีผู้นำที่สามารถเป็นต้นแบบในการทำงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้น วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร เป็นปัจจัยอื่นที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอย่างยิ่ง
References
ขวัญใจ อับมา. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(3), 61-81.
จิราพรรณ สุดลาภา. (2565). วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชฎาภรณ์ เพียยุระ. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 75-96.
ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดสกลนคร. รายงานการวิจัย. สกลนคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณัฐพล อินธิแสง. (2564). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(1), 41-55.
ดิเรก ธรรมารักษ์. (2563). ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ทัชเชษฐ์ นิยมสุข. (2560). ภาวะผู้นำทางจริยธรรมของนายกเทศมนตรี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพองค์การ. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ธนาพนธ์ ตาขัน. (2562). ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เนาวรัตน์ รอดเพียน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ปองใจ ปากเมย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พงษ์เทพ สุขทนารักษ์. [ออนไลน์]. (2555). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562. เข้าถึงได้จาก www.gotoknow.org/posts/455820
มุกดา ป้องคำศรี. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์บธ.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
รัฐพล สุขประเสริฐ. (2565). อิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). กฎหมายปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราช กิจจานุเบกษา, 2547.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์
สันติภาพ วะชุม และ ละมัย ร่วมเย็น. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 4 (1), 217-232.
สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีสงคราม (2566). ข้อมูลบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีสงคราม
สุคนธรัตน์ เถาสุวรรณ์. (2550). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระ รป.ม. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุระศักดิ์ ศิริมาตร. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. รายงานการวิจัย. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.
เอื้องคำ จันทะพรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Browder, R. (1993). Social psychology. New York: Free Press.
Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning per spective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(2), 117-134.
Denison, D. R., Haaland, S., & Goelzer, P. (2003). Corporate Culture and Organizational Effectiveness: Is There a Similar Pattern Around the World?. Advances in Global Leadership. 3, 205-227.
Jong, D., & Hartog, D. (2008). Innovative Work Behavior: Measurement and Validation. Zoetermeer, November.
Kalshoven, K., Den Hartog, D. N., & De Hoogh, A. H. B. (2011). Ethical leadership at work questionnaire (ELW): Development and validation of a multidimensional measure. The Leadership Quarterly, 22(1), 51–69.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Manz, C. C., & Sims, H. P. (2002). Super leadership: Beyond the myth of heroic leadership in organizational dynamics. New York: American Management Association.
Northouse, P. G. (2013). Leadership: theory and practice. (6th ed). London: Western Michigan University. Washington DC United States of America.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ