บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.281944

คำสำคัญ:

กฎหมายรัฐธรรมนูญ;, งบประมาณแผ่นดิน; , การตรวจสอบการใช้

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย การคลังมหาชนจึงต้องสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ซึ่งการใช้จ่ายเงิน และการกู้ยืมเงินจะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภาในฐานะผู้แทนของประชาชนเท่านั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความตามประเด็ดนวัตถุประสงค์การศึกษา

ผลการศึกษา: กระบวนการจัดทำงบประมาณแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจไม่ครอบคลุมกระบวนการจัดทำงบประมาณทั้งระบบ แต่ให้ตรวจสอบเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณจัดทำแล้วเสร็จและส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมายังสภาผู้แทนราษฎรและให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเพียงพิจารณาให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่านเท่านั้น การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินทำให้เป็นปัญหาเกิดอุปสรรค ข้อจำกัดในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 143 ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณให้เสร็จภายใน 105 วัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นให้เสร็จภายใน 105 วัน ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 144 มีเจตนารมณ์ห้ามไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และ กรรมาธิการ ของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี, ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณกลางปี, และร่างพระราชบัญญัตืโอนงบประมาณ แปรญัตติในเชิงการขอเพิ่มงบประมาณมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้ การจำกัดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่าควรใช้เงินกับโครงการใดของรัฐจึงเป็นการจำกัดอำนาจตัวแทนของประชาชนในวิธีการตัดสินใจที่จะใช้เงินให้เป็นเป็นประโยชน์กับสาธารณะ  ผู้วิจัยเห็นว่า ควรขยายขอบเขตอำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครอบคลุมกระบวนการจัดทำงบประมาณทั้งระบบ และกำหนดหลักเกณฑ์มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดกรอบงบประมาณที่ดีสามารถตรวจสอบได้ มีความชัดเจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 ข้อบังคับการประชุมในเรื่องการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562

สรุปผล: ผลการศึกษาเน้นย้ำถึงข้อจำกัดที่สำคัญในกระบวนการจัดทำงบประมาณของไทย โดยสมาชิกรัฐสภามีอำนาจจำกัดในการมีอิทธิพลและกำกับดูแลการตัดสินใจด้านงบประมาณ กรอบกฎหมายปัจจุบันจำกัดการใช้ดุลยพินิจของสมาชิกรัฐสภา โดยจำกัดบทบาทของตนให้เป็นเพียงการอนุมัติงบประมาณเท่านั้น โดยไม่มีการควบคุมโดยตรงต่อการแก้ไขหรือการจัดสรรงบประมาณ เพื่อปรับปรุงความโปร่งใสและประโยชน์สาธารณะ การศึกษานี้แนะนำให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภามีอำนาจมากขึ้นในกระบวนการจัดทำงบประมาณ

References

กนกวรรณ คล้ายมณี. (2562). ปัญหาทางกฎหมายวินัยการเงินการคลังตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561.วิทยานิพนธ์หลักสูตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กานดา วรมงคลชัย. (2567). ระบบการบริหารราชการแผ่นดินของญี่ปุ่น. Retrieved on February 10, 2024., https://lawdrafter.blogspot.com/2019/05/blog-post_5.html .

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์. (2562). หลักการใหม่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2562) ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานเลขาธิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2566), กฎหมายเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ วิธีการงบประมาณและการตรวจเงินแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ปรีชา สุวรรณทัต. (2562). วิชาธรรมศาสตร์ว่าด้วยการคลังภาครัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุ จันทร์เจียวใช้. (2560). หลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศึกษาเฉพาะประเด็นด้านการเงิน การคลัง และการงบประมาณ. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ภาวิณี ลอยฟ้า. (2561). การควบคุมการบริหารงบประมาณโดยกระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงบประมาณ.(2566). ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ฉบับปรับปรุง). Retrieved on February 10, 2024 from: dhttps://www.senate.go.th/assets/portals/ 147/fileups/324/files.

สุปรียา แก้วละเอียด. (2565). กฎหมายการคลังภาคงบประมาณแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป. (2553). กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานกลางทางการเงินการคลังและการงบประมาณของประเทศไทยตามหลักการบริหารการคลังสมัยใหม่. วารสารนิติศาสตร์, 39(4), 700-740.

อานันท์ กระบวนศรี.(2566). การควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองและการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองฝรั่งเศส. วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, 12(1),132-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-11

How to Cite

พลพรกลาง ค. ., & พิพัฒนกุล ไ. . (2024). บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 155–170. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.281944