รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.281938คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, กระบวนการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม เพื่อนำมาใช้ในพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พร้อมการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานการจัดการศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม และ 4) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 42 คน และนักเรียน จำนวน 603 คน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ได้แก่ 1) แบบบันทึกผลการสังเคราะห์ข้อมูล 2) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสัมภาษณ์สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบบันทึกผลการสังเคราะห์เกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบ 5) แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างรูปแบบ 6) แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ของรูปแบบและคู่มือการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 7) คู่มือการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 8) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู 9) แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 10) แบบสรุปผล การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 11) แบบสรุปผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 12) แบบสรุปผลผลการประกวดแข่งขันของนักเรียน 13) แบบสรุปผลรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา 14) แบบสรุปผลรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติที่สถานศึกษาได้รับ 15) แบบสรุปผลการเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน และ 16) แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับจุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบและคู่มือการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย:
- ผลการศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม พบว่า (1) สภาพปัญหา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม เมื่อเทียบกับค่าเป้าหมาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยปีการศึกษา 2563 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวมเฉลี่ย 60.47 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ -7.04 (2) สาเหตุของปัญหา พบว่า เกิดจาก 1) การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนไม่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ผู้บริหารขาดการบริหารจัดการเชิงคุณภาพหรือขาดการ นำหลักการบริหารเชิงคุณภาพมาใช้ 3) ครูไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการนิเทศภายในซึ่งเป็นการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน และ 4) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ไม่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน (3) แนวทางแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม พบว่า โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ควรดำเนินการตามประเด็นการบริหารจัดการคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา คือ 1) พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนโดยปรับปรุงหลักสูตร และออกแบบรายวิชาพื้นฐานเพื่อพัฒนานักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 2) พัฒนาครูและบุคลากร 3) พัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 4) การบริหารจัดการและการนำองค์กรแบบมีส่วนร่วม โดยให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ และการติดตามประเมินผล
- รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 4) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์
- 3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม พบว่า 1) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูหลังการอบรมพัฒนาสูงกว่าก่อนการอบรมพัฒนา 2) ผลผลิตที่เกิดจากการใช้รูปแบบ ด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2564 กับ ปีการศึกษา 2563 ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 325 ด้านคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2564 กับ ปีการศึกษา 2563 ผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.23 และ ผลการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2564 กับปีการศึกษา 2563 ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.96 3) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้รูปแบบ ด้านนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขัน มีจำนวน 26 รางวัล ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขัน ในระดับต่าง ๆ มีจำนวน 6 รางวัล ด้านรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษา มีจำนวน 7 รางวัล และด้านการเป็นแหล่งศึกษาดูงานจากสถานศึกษาอื่น มีสถานศึกษา จำนวน 17 แห่ง ได้มาศึกษา ดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ในโรงเรียน
- ผลการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม พบว่า รูปแบบ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) การบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย คือ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร (3) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (4) ด้านการบริหารจัดการและการนำองค์กรแบบมีส่วนร่วม 4) วิธีการดำเนินงาน 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยรูปแบบมีจุดเด่นสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีความเหมาะสมกับบริบท สามารถนำไปพัฒนาคุณครูให้มีประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน รูปแบบมีจุดด้อย ได้แก่ ไม่มีเงื่อนไขความสำเร็จ แผนภาพไม่มีความสอดคล้องและสื่อความหมาย ที่ชัดเจนได้ ไม่ได้นำเสนอรายละเอียดของวิธีดำเนินการในรูปแบบของตารางเพื่อแสดงความสอดคล้อง สำหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ปรับเพิ่มเงื่อนไขความสำเร็จในการ นำรูปแบบไปใช้ ปรับแผนภาพให้มีความสอดคล้องและสามารถสื่อความหมายให้ชัดเจนกับคำอธิบาย และนำเสนอรายละเอียดของวิธีดำเนินการในรูปแบบของตาราง
สรุปผล: ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบและวิธีการดำเนินการเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ที่เหมาะสมชัดเจน ส่งผลให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
References
กรมวิชาการ. (2541). ประทีปแห่งการศึกษา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
ดำรงค์ บุญกลาง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 11(2), 163-175.
ธนพล ทองยัง. (2564). แนวทางการบริหารและการจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านพนาสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิกุล สุรินทร์. (2564). แนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 16(1), 71-84.
มนตรา ฟักมงคล. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โรงเรียนราชานุบาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(3), 334-350.
โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม. (2561). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2563. ขอนแก่น : โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม.
โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม. (2563). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2563. ขอนแก่น : โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม.
ศศิมาภรณ์ นันทะสิงห์ และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางพัฒนาการบริหารและการจัดการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. 6(2), 75-85.
สนอง สุดสะอาด และศศิรดา แพงไทย. (2561). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 4(S), 150-159.
สมชาย เผือกตระกูลชัย. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการการประกันคณุ ภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคลองกับบริบทของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาค 17. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอรทกรุงเทพ. 9(1), 144-159.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการกระเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Models of Teaching. 8th ed. New York: Allyn& Bacon
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ