การป้องกันและปราบปรามตัวแทนอำพรางของคนต่างด้าวในการทำนิติกรรมอำพรางซื้อขายที่ดินในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281872คำสำคัญ:
การป้องกันและปราบปราม, ตัวแทนอำพราง, คนต่างด้าว, ที่ดินบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บทความวิชาการเรื่อง การป้องกันและปราบปรามตัวแทนอำพรางของคนต่างด้าวในการทำนิติกรรมอำพรางในประเทศไทย: กรณีศึกษาคดีตัวแทนอำพรางของคนต่างด้าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบในการทำธุรกรรมในประเทศไทยโดยอาศัยตัวแทนอำพราง 2) เพื่อศึกษากฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมโดยอาศัยตัวแทนอำพรางในประเทศไทย 3) เพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาในเรื่องตัวแทนอำพรางรวมถึงผู้ให้การสนับสนุนให้เกิดตัวแทนอำพราง
ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษา
ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า 1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคําจำกัดความ “คนต่างด้าว” ในพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้มีความหมายรวมถึง นิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจควบคุมกิจการหรือการครอบงำของคนต่างด้าว และให้ถือว่านิติบุคคลนั้นเป็นนิติบุคคลต่างด้าว 2) เพิ่มเติมคำนิยามคําว่า “ตัวแทนอำพราง” ในประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า “การถือครองที่ดินของบุคคลสัญชาติไทย หรือนิติบุคคล สัญชาติไทยแทนคนต่างด้าวโดยปกปิดชื่อเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้ถือว่า เป็นการ กระทำโดยตัวแทนอำพราง” และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา 3) ที่ดินที่ถือครองอันโดยผิดกฎหมาย โดยตัวแทนอำพรางของคนต่างด้าวนั้นจะถูกริบเป็นสมบัติของแผ่นดิน คนต่างด้าวผู้ใช้ตัวแทนอำพรางในการถือครองที่ดินตัวแทนอำพรางผู้มีสัญชาติไทย ผู้ ที่ให้การสนับสนุน แนะนํา และช่วยเหลือ มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 10 ถึง 20 ปี และมีโทษปรับอย่างน้อย 2,000,000 บาท โดยผู้ที่ให้ข้อมูลของการกระทำผิดจะได้รับเงินรางวัลจากค่าปรับร้อยละ 50 และกรณีที่ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในการกระทำผิดจะได้รับการยกเว้นโทษจากการกระทำผิดดังกล่าว
สรุปผล: โดยทางด้านแนวทางการป้องกันและปราบปรามตัวแทนอำพราง (Nominee) นั้น ควรจะมีการตรวจสอบตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล โดยก่อนจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล จะต้องทำการตรวจสอบเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นคนไทยที่ลงทุนหรือถือหุ้นในนิติบุคคลร่วมกับคนต่างด้าว เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือว่าบุคคลดังกล่าว มีฐานะทางการเงินที่ลงทุนด้วยตนเองได้และเมื่อจดทะเบียนแล้ว ควรมีโครงการตรวจสอบประจำปี โดยคัดเลือกกลุ่มเสี่ยง และกำหนดนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ กรมสรรพากรได้มีการทำงานร่วมกันในการตรวจสอบภาษี และ เงินทุนที่นำมาลงทุนประกอบธุรกิจ เพื่อนำไปสู่รายได้จากการเก็บภาษีจะเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น
References
กรมที่ดิน. (2565). วิวัฒนาการออกโฉนดที่ดิน รวมกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน 100 ปี กรมที่ดิน 17 กุมภาพันธ์ 2565. กรุงเทพมหานคร: กรมที่ดิน.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). กระทรวงพาณิชย์ มาเชิงรุก!! สกัดกั้นธุรกิจ "นอมินี" คุมเข้มทั้งระยะสั้นและระยะยาวตาม Road map "แผนปฏิบัติการกำกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว. Retrieved from: https://www2.dbd.go.th/news_view.php?nid=16223
กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2562). ชูโปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิด ตัวแทนอำพราง (Nominee)ต่างชาติ นำร่อง 4 เมืองใหญ่. Retrieved from: https://www.dsi.go.th/th/Detail/DSI
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). เปิดข้อมูล”ตัวแทนอำพราง (Nominee)”ปี66 ธุรกิจอสังหาฯ ท่องเที่ยว รีสอร์ท ติดโผอันดับต้น. Retrieved from: https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1089947
ดวงมณี เลาวกุล. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่องนโยบายและมาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงมณี เลาวกุล. (2553). พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับ ความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน, การ สัมมนาวิชาการ ณ ห้อง 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ข่าวอาร์เอสยู นิวส์. Retrieved from: http://www.rsunews.net/Ask%20Experts/LandTenure/LandTenure.htm
มัณฑนา แจ่มศรี. (2555). ชำแหละธุรกรรมอำพรางต่างชาติ ฮุบที่ดินไทย. Retrieved from: https://www.isranews.org/content-page/item/15447--1.html
ศูนย์วิจัยกฎหมายธุรกิจและเศรษฐกิจ. (2563). นิติกรรมอำพรางในการประกอบกิจการโดยคนต่างด้าว: การใช้นอมินีและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ศูนย์ศึกษานโยบายเศรษฐกิจและกฎหมาย. (2564). การศึกษาผลกระทบของการใช้นอมินีในการประกอบธุรกิจและการถือครองที่ดินในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
George, C. (1914). Corporate Responsibility for Crime 6 Colum. L, Rev,. Code of Canon Law Title VI Physical and Juridic person (Can 96-123) http://www.vatican.va/archive/ENG1104/ PD.HTM
Williams, G. (1961). Criminal Law: The General Part, 2nd edition. London: Steven & Sons Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ