แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • จารุณี คงกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0004-8535-8892
  • วรพจน์ ตรีสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0003-9837-1693
  • วรพงศ์ ไชยฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0009-8847-6479
  • สุพัฒนชัย โพธิ์แก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0006-0327-8413
  • อาฉ๊ะ บิลหีม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0007-5255-2869
  • ธนาธิป สรรพาวุธ ผู้ช่วยนักวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://orcid.org/0009-0008-1355-9803

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281810

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ศักยภาพการท่องเที่ยว, ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการท่องเที่ยวที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลางในการจัด การท่องเที่ยวของชุมชน โดยหัวใจของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยว และหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือนชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งยังมีภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน จำนวน 47 คน โดยใช้แบบสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ผลการวิจัย: พบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ คือ ด้าน การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ด้านที่พัก ด้านสิ่งดึงดูดใจ และด้านกิจกรรม มีระดับศักยภาพการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน การยกระดับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงนิเวศ การพัฒนา การสื่อสารทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ความยั่งยืน

สรุปผล: ผลารวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภอ อ่าวลึก จังหวัดกระบี่นั้น นอกจากการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว ยังต้องมีการส่งเสริมการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การพัฒนาจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและการสื่อการทางการตลาด ซึ่งแนวทางการพัฒนาเหล่านี้จะนำมาสู่การส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่ความยั่งยืนระยะยาว

References

กมลพร อัศวมงคลสว่าง. (2552). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรชนก สนิทวงค์. (2565). การยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยทุนทางวัฒนธรรม: กรณีชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสังคม, 45(2), 96-116.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนา การท่องเที่ยว.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้มาเยี่ยมเยือน เดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 (เบื้องต้น). Retrieved on 13 August 2024, from: https://www.mots.go.th/news/category/760

กิตติคุณ บุญเกตุ. (2564). หลักการวิจัย. เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 4113306. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จารุณี คงกุล. (2565). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(2), 1-22.

ชาคริต ช่วยบำรุง. (2554). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐชา ลี้ปัญญาพร และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2564). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งในมิติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 176-195.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

พจนา บุญคุ้ม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มภาคกลางตอนล่าง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 2793-2808.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พัชชาพลอย สุทธิชูวงศ์. (2552). รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาหมู่บ้านดอนม่วง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

มณฑาวดี พูลเกิด. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยุพาพร ชัยศิริ. (2549). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. รังสิตสารสนเทศ, 28(1), 169-192.

ศิรวิชญ์ สุประดิษฐ์ และสันติธร ภูริภักดี. (2561). รูปแบบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมของการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมสัก ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. Humanities, Social Sciences, and Arts, 12(5), เดือนกันยายน-ตุลาคม, 1571-1584.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศุภสุตา สิกขฤทธิ์ และอาจยุทธ เนติธนากุล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ กรณีศึกษาอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานภาค จังหวัดเชียงใหม่.

สุนีย์รัตน์ คงศิริ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถาน คลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่. กระบี่: องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่.

อัครพงศ์ อั้นทอง และกันต์สินี กันทะวงศ์วาร. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบและการเลือกจุดหมายปลายทางของผู้เยี่ยมเยือน : กรณีศึกษาชุมชนเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 37(1), 51-66.

Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-06

How to Cite

คงกุล จ., ตรีสุข ว. ., ไชยฤกษ์ ว. ., โพธิ์แก้ว ส. ., บิลหีม อ. ., & สรรพาวุธ ธ. . (2025). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 495–512. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281810

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ