การพิทักษ์สิทธิชุมชน : กรณีศึกษาเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดจันทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.281782คำสำคัญ:
การพิทักษ์สิทธิชุมชน; , สิทธิชุมชน;, เหมืองแร่ทองคำบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพิทักษ์สิทธิชุมชนเป็นการที่ชุมชนมีสิทธิจัดการทรัพยากรทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเพื่อดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์การฟื้นฟูตลอดจนการจัดการเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนหากชุมชนสามารถรวมตัวได้อย่างเข้มแข็ง ก็จะสามารถต่อสู้เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการจัดการโดยชุมชนเองได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ผู้วิจัยมีความสนใจเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิชุมชน กับการดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหาทางออกที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และถอดบทเรียนภาคประชาชนในการพิทักษ์สิทธิชุมชน 3) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายสำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพทั้งการวิจัยเอกสารและข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) กลุ่มประชนชนที่รวมตัวกันในนาม “กลุ่มชาวจันทบุรีไม่เอาเหมืองแร่” ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวการคัดค้านเหมืองแร่ทองคำจังหวัดจันทบุรีสำหรับการถอดบทเรียนภาคประชาชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เชิงพรรณนา
ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาวิจัยนี้ต้องการวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำที่กระทบต่อสิทธิชุมชน โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary research) ทำการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมาย ตำรา วารสารบทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ข้อเขียน ข้อมูลอื่นที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต และกรณีศึกษาที่เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย
ผลการวิจัย: พบว่า การคุ้มครองสิทธิชุมชนภายในขอบเขตของการดําเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำยังคงเต็มไปด้วยปัญหาที่มีข้อถกเถียงจากประชาชนในชุมชนจนนำไปสู่การประท้วงคัดค้านในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี อนึ่งแม้จะมีกฎหมายบังคับใช้กฎหมายแต่ก็พบว่ากฎหมายเหล่านั้นยังไม่ครอบคลุมในประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการพิทักษ์สิทธิชุมชน ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำที่กระทบสิทธิชุมชน ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิชุมชนซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและประชากรที่อาศัยในชุมชน
สรุปผล: การเคลื่อนไหวของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดจันทบุรี
มีกระบวนการที่เป็นแบบแผนและสร้างผลกระทบต่อผู้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน เป็นการให้การศึกษาและการตระหนักรู้แก่สมาชิกในชุมชนที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนและวิธีปกป้องสิทธิชุมชนในอนาคต
References
กระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2566). แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยกฎหมายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่2 (พ.ศ. 2566-2570). Retrieved on 29 November 2023 From: https://shorturl.asia/dtvJe
ฐากูร สรวงศ์สิริ และมณีมัย ทองอยู่. (2553). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมคัดค้านเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 135-150.
ณัชฌา ลงทอง. (2564). ประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิกา เนาวรัชต์ และชุลีรัตน์ เจริญพร .(2563). การเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในการคัดค้าน โครงการโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติบางคล้า. วารสารนวัตกรรมสังคม, 3 (1), 106-120.
ประชาชาติธุรกิจ.(2563). จันทบุรีแสดงพลังยื่น 160,000 รายชื่อคัดค้านขออาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำ. Retrieved on 10 July 2024. From : https://www.prachachat.net/local-economy/news-518691
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
ปริษา จารุวาระกุล. (2550). ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ. กรุงเทพฯ: กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน 4 สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร และ นวพร ศิริบันเทิงศิลป์. (2555).สิทธิชุมชนกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย. Executive Journal, 32(1),183-189.
ภิรัชญา วีระสุโข. (2559). จิตสำนึกในการอนุรักษ์และการพึ่งพิงตนเอง: อัตลักษณ์ของกลุ่มอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด-บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 22(3), 133-173.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม. (2563). ความเห็นทางกฎหมาย: การขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำจังหวัดจันทบุรี. Retrieved on 18 August 2024. From https://enlawfoundation.org/chanthaburi-goldmining-opinions/
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2561). คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.(2563). สิทธิชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อรทัย อินต๊ะไชยวงค์.(2560). สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ทฤษฎีของ Elinor Ostrom ในประเทศไทย , วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
United Nations. (2021). A clean environment is a human right, the UN Council agrees. Retrieved on 10 July 2024 from: https://www.theguardian.com/world/2021/oct/08/clean-environment-is-a-human-right-un-council-agrees.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ