รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.281555คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงมี คือ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีความสามารถในการมองไปในอนาคตและกำหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ รวมทั้งมีความสามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อให้องค์การมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา
ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 297 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เพื่อประเมินรูปแบบ ระยะที่ 4 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
ผลการวิจัย: 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การกำหนดทิศทางขององค์กร 2) วัฒนธรรมขององค์การ 3) การคิดเชิงกลยุทธ์ และ 4) การสื่อสาร 2. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้ 1) การกำหนดทิศทางขององค์กร 2) วัฒนธรรมขององค์การ 3) การคิดเชิงกลยุทธ์ และ 4) การสื่อสาร ตามลำดับ 3. รูปแบบการพัฒนาประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 การกำหนดทิศทางขององค์กร Module 2 วัฒนธรรมขององค์การ Module 3 การคิดเชิงกลยุทธ์ Module 4 การสื่อสาร และ 4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ 1) ผลการประเมินผลการปฏิบัติตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดของรูปแบบโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการบริหารสถานศึกษาและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในยุคปัจจุบันที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหาร รวมถึงกลยุทธ์ในการนำโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1) การกำหนดทิศทางขององค์กร 2) วัฒนธรรมขององค์การ 3) การคิดเชิงกลยุทธ์ และ 4) การสื่อสาร
References
กนกอร สมปราชญ์. (2559). (2559). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา . ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
กัณฑ์กณัฐ สุวรรณรัชภูมิ, สมชาย เทพแสง, ทัศนา แสวงศักดิ์ และอภิธีร์ ทรงบณั ฑติย์. (2556). ภาวะผู้นำกลยุทธ์: รูปแบบของผู้นำยุคใหม่. วารสารบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.10(18), 1-12.
ชัยพัชร์ เลิศรักษ์ทวีกุล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. Retrieved from: http//www.deonetraining.com
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ปัญญาชน.
ธนาชัย สุขวิณิช และพรชัย อรัณยกานนท์. (2557). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2560). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
ประภาพรรณ รักเลียง. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). คุณลักษณะของผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership). Retrieved September 15, 2021 from https://www.popticles.com/business/strategic-leadership-.characteristics/
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2561). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธ์.
สมชาย เทพแสง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงระบบ (System Leadership) : รูปแบบที่มุ่งคุณธรรมสู่ความเป็นมืออาชีพในหลักวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่งจำกัด.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). “การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก” ในเอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนาการศึกษาระดับปริญญาเอก. หน้า 50-53. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิริกร ไชยราช. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2558). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Adair, J. (2010). Strategic Leadership: How to Think and Plan Strategically and Provide Direction (The John Adair Leadership Library). London: Kogan Page.
Anderson, T. P. (1997). “Using Models of Instruction. In C. R. Dills and A. J. Romiszowski (eds)”. Instructional Development Paradigms. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (Eds.) (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Dess, G.G., & Alex, M. (1993). Strategic Management. Singapore: McGrew-Hill.
Dubrin, A.J. (2007) Leadership Research: Findings, Practice, and Skills. 5th Edition, Houghton Mifflin Company, Boston.
Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10 (4), 135-150
Hitt, M. A, Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2007). Management of strategy: Concepts and Cases. China: Thomson South-Western.
Johnson, G., & Scholes, K. (2003). Strategic Management in Practice from Exploring Corporate Strategy. 6th ed. London: Prentice-Hall.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of Teaching (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Perce, A.J., & Robinson, R.B., Jr. (2007). Formulation, Implementation, and Control of Competitive Strategy. 11th edition. New York: McGraw-Hill.
Yukl, G. (2006). Leadership in Organizations. 6th edition. New York: Courier Stoughton.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ