การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280982

คำสำคัญ:

การบังคับใช้กฎหมายศุลกากร, การจัดการสิ่งแวดล้อม, อนาคตที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยป้องกันการค้าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ขยะอันตราย และสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างผิดกฎหมาย หน่วยงานศุลกากรปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและบังคับใช้ข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศโดยควบคุมและควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน 2) เพื่อกำหนดแนวทางและการแก้ไขปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายศุลกากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษา

ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า 1) การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการลักลอบนำเข้าสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและขาดการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบ รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ไม่เพียงพอสำหรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การตรวจสอบสินค้าล่าช้าและไม่ครบถ้วน การขาดแคลนบุคลากรยังทำให้เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ต้องรับภาระงานที่มากเกินไป รวมทั้งการขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมายศุลกากร 2) หากมีการร่วมมือกันในทุกภาคส่วนย่อมเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงในการทุจริต และเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการ นอกจากนั้นการทำงานร่วมกันยังช่วยให้การตรวจสอบและควบคุมสินค้านำเข้าและส่งออกมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จึงเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสร้างความร่วมมือในการการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

สรุปผล: ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยกำหนดกฎเกณฑ์การอบรมและพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่ศุลกากร และกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2565). การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน: ประสบการณ์ แนวทาง และบทเรียน การพัฒนาเมืองสู่รางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน รางวัลเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน และรางวัลเทศบาลด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน. กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคา, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และวทัญญู รัศมิทัต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 50-58.

นันทวัน หสตังไทรแก้ว. (2567). อาเซียนกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม. Retrieved from: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=77017&filename=article_translate

สริญญา ศาลางาม. (2565). ตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยและวิธีโครงข่ายประสาทเทียม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10 (2), 54-65.

อรรฏชณม์ สัจจะพัฒนกุล. (2561). ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: การเรียนรู้สู่การสร้างพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในบริบทไทย. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม. 7(2), 273-304.

ASEAN Environment. (2022). ASEAN, EU kick-off region-wide cycling event to promote a sustainable environment. Retrieved from: https://environment.asean.org/environment-sustainable-cities/about

Customs Act 1960. (2024). Appointment Of Officers. Retrieved from: https://sso.agc.gov.sg/Act/CA1960?ProvIds=P12-#pr5-

Environmental Protection and Management Act 1999. (2024). Part 2 Administration. Retrieved from: https://sso.agc.gov.sg/Act/EPMA1999?ProvIds=P12-#P12-

Resource Sustainability Act 2019. (2024). Purposes of Act. Retrieved from: https://sso.agc.gov.sg/Acts-Supp/29-2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

ประวรรณะ ป. ., & อินโต ศ. . (2025). การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 959–970. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280982