นวัตกรรมบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัตนา ชัยกัลยา คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม https://orcid.org/0009-0001-4564-2096
  • รุ่งโรจน์ สงสระบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม https://orcid.org/0000-0002-6431-9438

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.280940

คำสำคัญ:

นวัตกรรมบริการ; , การใช้บริการ; , โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวช้า ส่งผลให้ผู้มีรายได้ระดับกลางซึ่งเป็นลูกค้าหลักของโรงพยาบาลมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย สะท้อนจากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจลักษณะทั่วไปของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้นวัตกรรมบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 3) เพื่อค้นหานวัตกรรมบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise

ผลการศึกษา: 1) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วงอายุ 40-60 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-50,000 บาท 2) การรับรู้นวัตกรรมบริการที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ(Mean = 4.14, S.D. = 0.741) ด้านแนวคิดการบริการ (Mean = 4.03, S.D. = 0.512) ด้านเทคโนโลยีการให้บริการมีความสำคัญมากที่สุด (M = 3.45, S.D. = 0.582) ด้านที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านกระบวนการส่งมอบบริการใหม่ (M = 3.11, S.D. = 0.654) และ ตามลำดับ และ 3) นวัตกรรมบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ได้แก่ ด้านแนวคิดการให้บริการ (β)=0.134 ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ(β)=0.094 ด้านกระบวนการส่งมอบบริการใหม่ (β)=0.213 และด้านเทคโนโลยีการให้บริการ (β)=0.145 3)

สรุปผล: แนวทางของโรงพยาบาลเอกชนควรนำนวัตกรรมการให้บริการในโรงพยาบาล เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อการใช้บริการ แล้วกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไป และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

References

Bhaskara, G.I., & Filimonau, V., (2021). The COVID-19 pandemic and organizational learning for disaster planning and management: A perspective of tourism businesses from a destination prone to consecutive disasters. Journal of Hospitality and Tourism Management, 46, 364 - 375.

Cheng, C.-C., Chang, Y.-Y., & Chen, C.-T. (2021). Construction of a service quality scale for the online food delivery industry. International Journal of Hospitality Management. International Journal of Hospitality Management. 95(4), 102938. DOI:10.1016/j.ijhm.2021.102938

Den Hertog, P. (2000). Knowledge-Intensive Business Services as Co-Producers of Innovation. International Journal of Innovation Management, 4, 491-528. https://doi.org/10.1142/S136391960000024X

Hfoucus. (2024). Private hospital situation. Retrieved April 23, 2024 from: https://www.hfocus.org/topics.

Kautish, P., Paul, J., Sharma, R., (2021). The effect of assortment and fulfillment on shopping assistance and efficiency: An e-tail services cape perspective. Journal of Retailing and Consumer Services, 59. Article 102393. DOI: 10.1016/j.jretconser.2020.102393

Ribeiro, G., & Cherobim, A. P. M. S. (2021). Environment and innovation: Discrepancy between theory and research practice. 14(1), 30–40.

Shortell, S.M., O’Brien, J.L., Carman, J.M., Foster, R.W., 2024. Assessing the impact of continuous quality improvement/total quality management: concept versus implementation. Health Services Research. 30(2), 377–401.

The Bangkokpost. (2024). The food delivery challenge. Retrieved April 23, 2024 from https://www.bangkokpost.com/business/1965615/delivery-platforms-dig-in-for-war.

Wanitbuncha, K. (2014). Structural equation modeling analysis by AMOS. Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

How to Cite

ชัยกัลยา ร. ., & สงสระบุญ ร. (2024). นวัตกรรมบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 467–476. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.280940