การใช้กลยุทธ์การสื่อสารของผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลที่นำมาใช้บรรยายในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280870คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสาร, ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอล, ทัศนคติ, แฟนบอลบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: นักวิจารณ์ฟุตบอลใช้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ผู้ชมสนใจ ทำให้เกมน่าตื่นเต้นและเข้าถึงได้มากขึ้น กลยุทธ์เหล่านี้ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ จังหวะ และบริบทของการแข่งขัน ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์การรับชมโดยรวม ดังนั้นการวิจัยเรื่องการใช้กลยุทธ์การสื่อสารของผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลที่นำมาใช้บรรยาย ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การสื่อสารของผู้บรรยายกีฬาฟุตบอล ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของแฟนบอลในสนามที่มีต่อผู้บรรยายกีฬาฟุตบอล ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ระเบียบวิธีการวิจัย: ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บรรยายกีฬาฟุตบอล จำนวน 5 คน และแฟนบอลในสนามจำนวน 100 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depthInterviews) การเก็บข้อมูลครั้งนี้ดำเนินการโดย ผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง
ผลการวิจัย: 1)ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่หลากหลายในการบรรยาย ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารโดยใช้วาทศิลป์ที่ไวต่อความรู้สึกคู่สื่อสาร กลยุทธ์การสร้างสาร กลยุทธ์การคล้อยตาม กลยุทธ์การสื่อสารเน้นความสุภาพในสังคม 2)ทัศนคติของแฟนบอลในสนามที่มีต่อผู้บรรยายกีฬาฟุตบอล เกิดความชื่นชอบการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เพราะความภาคภูมิในทีมของท้องถิ่นบ้านเกิดตนเอง แฟนบอลมีความสนุกสนานเพลิดเพลินระหว่างการแข่งขันจากการบรรยายในสนาม แฟนบอลได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ จากกลยุทธ์การสื่อสารของผู้บรรยาย
สรุปผล: จากการใช้กลยุทธ์การสื่อสารของผู้บรรยายที่นำมาใช้บรรยาย ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้เกิดอรรถรสในการรับชมการแข่งขันของแฟนบอลในสนาม การสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในนักกีฬาฟุตบอล และทีมท้องถิ่นของตนเองที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้แฟนบอลส่วนใหญ่ยังอยากเห็นการพัฒนาศักยภาพของผู้บรรยายรุ่นใหม่ ๆ โดยเฉพาะผู้บรรยายในท้องถิ่น ที่จะสามารถใช้กลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ เพื่อบรรยายการแข่งขันในปีต่อ ๆ ไป ทำให้รายการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานแห่งความภาคภูมิใจนี้ คงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของชาวอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ต่อไป
References
กมลสิงห์ นิลศรี, เครือวัลย์ ชัชกุล และณัฐวุฒิ บุญศรี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย กรณีศึกษาสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. ใน รายงานการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”. (ไม่ปรากฏเลขหน้า).มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2553). วิทยาศาสตร์การกีฬาฟุตบอล. ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย.
จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ. (2556). ผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับกลาง. ส เจริญ การพิมพ์จากัด.
ณัฐพงศ์ วณิชชัยกิจ. (2556). After effects cs6 essential. ไอดีซี พรีเมียร์.
เตชิต อภินัท์ธรรม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเชียร์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของแฟนบอลคนไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประทุม ฤกษ์กลาง. (2552). ยุทธศาสตร์การวางแผนการประชาสัมพันธ์. แผนกตำราและคำสอนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มาลินี มาลีคล้าย. (2554). การรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลภาพลักษณ์ ตราสินค้าอิชิตันในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัท ธรรมสารจำกัด.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hyde, S.W. (1995). Television & Radio Announcing. 7th edition. USA Houghton.
Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sports Development Plan(Vol.6) B.E.2560- 2564, The Office of the Permanent Secretary to the Ministry of Tourism and Sports. WarVeterans Organization Printing Mill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ