มาตรการทางกฎหมายสำหรับส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุราษฏร์ เศวตศุทธิสรร มหาวิทยาลัยเกริก https://orcid.org/0009-0008-3787-2167
  • จุฬาพัฒน์ กีรติภูมิธรรม มหาวิทยาลัยเกริก https://orcid.org/0009-0005-2446-949X
  • วุฒิกร เดชกวินเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0008-7551-4328

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280788

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, นวัตกรรม, อุตสาหกรรมการผลิต

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บทความวิชาการเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายสำหรับส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย 2) เพื่อกำหนดแนวทางและเสนอการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายสำหรับส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษา

ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาพบว่า 1) รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อความเข้มแข็งของสังคมและเสริมสร้างความสามารถของคนในชาติ แม้จะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตให้ใช้นวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่มีการส่งเสริมให้บุคคลหรือผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทเกิดใหม่ที่กำลังดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนแรกของแผนพัฒนาธุรกิจ หรือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และกฎหมายยังมีความล้าสมัยขาดบทบัญญัติในการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้เข้าถึงการพัฒนาและเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล  และพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ที่ตราขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ในการประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างเอกชนกับรัฐ กฎหมายดังกล่าวมีอุปสรรคและข้อจำกัดหลายประการที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรม เช่น ข้อจำกัดการในเข้าเป็นสมาชิกสามัญ ตามมาตรา 12 (1) และ 13 และข้อจำกัดของสมาชิกสมบท ตามมาตรา 12 (2) และมาตรา 14,  ปัญหาเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมสมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในด้านต่าง ๆ, ปัญหาสำนักงานสาขาในต่างจังหวัดมีไม่ครบทุกจังหวัด ปัญหาสมาชิกสามัญมีโอกาสเข้าถึงข่าวสาร การสนับสนุนและแหล่งเงินทุนได้มากกว่าสมาชิกสมทบ 2) เสนอให้มีปรับแก้แก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 หมวดที่ 1 มาตรา 6 และแก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 การจัดการศึกษาหมวดที่ 1 มาตรา 8 และให้ภาคอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการใช้นวัตรกรรม โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิจัยและพัฒนา ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาปรับใช้ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิต

สรุปผล: เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 นอกจากนั้น ได้เสนอนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ทั้งหมด 5 ด้าน รวมทั้งให้มีการศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนากฎหมายและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตตามระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมต่อไป

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, (2564). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ, (2566). ลักษณะสำคัญของนวัตกรรม (Innovation). Retrieved on October 26, 2023, https://www.iok2u.com/article/innovation/innovation-001-characteristics

ณัฐรัตน์ สุขใย, (2562). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การยอมรับเทคโนโลยีและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2561). การพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน (Sustainable Business Development). กรุงเทพฯ: CMS Digital Print

ธนาวุธ หนักเกิด และถวิล นิลใบ, (2566). การยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7, ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx, 6 มิถุนายน 2566, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พฤทธิ์ เทศจีบ, (2566). การสร้างความยั่งยืนทางดิจิทัลในธุรกิจด้วยสถานที่ทำงานดิจิทัล. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7, ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx, 6 มิถุนายน 2566, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วสุพล โภคา และอารดา มหามิตร, (2566). การบริหารการเปลี่ยนแปลง การยอมรับเทคโนโลยีและการยอมรับนวัตกรรมที่มีผลต่อการปรับตัวของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7, ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx, 6 มิถุนายน 2566, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2567). เกี่ยวกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. Retrieved January 11, 2024, from: https://fti.or.th/aboutus_th/documents/

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือDepa. (2567). เทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลกับการสร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม. Retrieved on June 27, 2024, https://www.depa.or.th/th/article-view/tech-innovation-article

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-21

How to Cite

เศวตศุทธิสรร ส. ., กีรติภูมิธรรม จ. ., & เดชกวินเลิศ ว. (2025). มาตรการทางกฎหมายสำหรับส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต ในประเทศไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 15–26. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280788

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ