ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในจังหวัดสุพรรณบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.280737คำสำคัญ:
คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์; , ความได้เปรียบทางการแข่งขัน;, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs).บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ลักษณะเฉพาะของผู้ประกอบการ เช่น นวัตกรรม การกล้าเสี่ยง และความสามารถในการปรับตัว มีความสำคัญ เนื่องจากลักษณะเฉพาะเหล่านี้ผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน กลยุทธ์ต่างๆ เช่น การวางตำแหน่งทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี จะช่วยเสริมข้อได้เปรียบนี้โดยทำให้บริษัทแตกต่างจากคู่แข่ง ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจคุณลักษณะของผู้ประกอบการ กลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการ ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในจังหวัดสุพรรณบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับคุณลักษณะของผู้ประกอบการ และกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสุพรรณบุรี (3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ และกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการ ที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในจังหวัดสุพรรณบุรี
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F – test ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: (1) คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบโดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคคลของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พร้อมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) พบว่าคุณลักษณะของผู้ประกอบการในเรื่องความคิดเชิงนวัตกรรม(β = 0.174) และกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการในเรื่องกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (β = 0.412) โดยมีสมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 68 ละ (3)ข้อเสนอแนะโดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งแหล่งเงินทุนในการทำธุรกิจด้วยการสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
สรุปผล: ผลการศึกษาสรุปได้ว่าลักษณะเฉพาะของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการคิดสร้างสรรค์และกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า มีผลอย่างมากต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของ SMEs อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมและการมุ่งเน้นลูกค้าเชิงกลยุทธ์ในการบรรลุความสำเร็จทางธุรกิจ
References
กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2564).กลยุทธ์การตลาดเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 15(2), 262-273.
กุสุมา สร้อยทอง. (2565). อิทธิพลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและความได้เปรียบในการแข่งขันต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 33(108), 60-76.
เชาวนี แย้มผิวและจันทนา แสนสุข .(2564). กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสันตพล. 7(1), 39-48.
ฐานวัฒน์ ฉัตรวิริยานนท์, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร, สุดาวรรณ สมใจ. (2564). การพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มไทยอย่างยั่งยืน.Journal of the Association of Researchers. 25(1), 271-287.
ณัฐวุฒิ แสนขันติวิโรจน์ และสุมาลี รามนัฏ. (2564). อิทธิพลความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถของผู้ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 13 (2), 253-268.
เทพรัตน์ เอื้อธรรมถาวร นฤชล ธนจิตชัย และศลิษา เจริญสุข. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13(1), 12-22
ธนพรรณ ทองโพธิ์ใหญ่. (2563.) ศึกษาวิจัยเรื่องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3), 215-2224.
ธีทัต ตรีศิริโชติ.(2564). การปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง.วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 3(2), 62-72.
นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7(2), 43-52.
นิวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย. (2563). ศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชน ชายแดนไทย-กัมพูชา: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 13(46), 101-111.
ศศินันท์ ศาสตร์สาระ และกอบชัย เมฆดี. (2564). การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8(3), 298-313.
ศิระ สัตยไพศาล และอนุพงศ์ อวิรุทธา. (2564). การยอมรับเทคโนโลยี คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และโอกาสทางธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3), 41-50.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2564). วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพสู่วิธีการวิจัยแบบผสม. Journal of Education Studies, Burapha University. 3(1), 1-16.
สรสินธุ์ ฉายสินสอน. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณลักษณะผู้ประกอบการ และการรับรู้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีคลังสินค้าอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(1), 21-36.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). GDP MSME ไตรมาสแรกของปี 2563 และคาดการณ์ แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563. Retrieved on March 20, 2023, https://www.sme. go.th.
อัศม์เดชเดชา ปานท่าไข่ และชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพ การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 30(106), 150-158.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2564). “วิสาหกิจชุมชน” ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 37(2), 131-150.
เอกชัย เรืองรัตน์ สุดา สุวรรณาภิรมย์ และธิปัทย์ โสตถิวรรณ์. (2567). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็กบนความปกติใหม่. วารสารวิจัยวิชาการ. 7(2), 98-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ