คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280621คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากร, สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเป็นสิ่งที่มีจำเป็น และสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การที่องค์กรให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรนั้น ย่อมส่งผลให้การปฏิบัติงานได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นด้วย บรรลุผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อได้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัย: 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศและรายได้ต่อเงินเดือน ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) หน่วยงานควรนำผลที่ได้จากการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น 2) หน่วยงานควรให้ความสำคัญในการวางแผนในการบริหารการเงินของบุคลากร อาจมีการจัดอบรม รณรงค์ให้บุคลากรเข้าใจในการบริหารการเงินมากยิ่งขึ้น 3) ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาความรู้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากรในหน่วยงาน
สรุป : บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ได้ทราบถึงคุณภาพชีวิตการทำงานของตนเองและได้เสนอแนะความต้องการของบุคลากรให้หัวหน้าองค์กรนำมาปรับปรุงแก้ไขใช้ในการทำงานขององค์กรในทุกๆด้าน
References
กัณฑมาส วงษ์ประดิษฐ์. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีศึกษาข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการของสำนักงาน ก.พ.. ศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นรินทร์ อบแพทย์. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงาน : กรณีศึกษาบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัทกร ไชยธงรัตน์ และ ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2565). คุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานของบุคลากร กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(3), 49-54
ปริญญา จันทร์สว่าง. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงานข้าราชการทหารอากาศของสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การและความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารนักบริหาร. 37(1), 83-96
ภาณุพงษ์ ภิรมย์การ. (2564). แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(2),411-422.
ศิวพร วิยะวงศ์. (2564). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานและขับเคลื่อนด้วยศักยภาพของบุคลากรเป็นสำคัญ. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน.https://www.koratdla.go.th/public/
สุฑาภรณ์ เกตุแดง. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านความ ผูกพันต่อองค์กรของ พนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Walton, R. E. (1974). Quality of working life: What is it? Sloan Management. New York: McGraw-Hill
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ