การพัฒนาทักษะ และความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วริศรา ไข่ลือนาม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล https://orcid.org/0009-0006-9998-0927
  • ปิยาพัชร เปี่ยมสวัสดิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล https://orcid.org/0009-0000-3627-735X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280537

คำสำคัญ:

ทักษะภาษาอังกฤษ, ความคาดหวัง, การใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บุคลากรสายสนับสนุน มักประสบปัญหาไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานกับอาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญ/นักศึกษาชาวต่างชาติอยู่เสมอ การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย  จึงสอดคล้องกับภารกิจและลักษณะงานที่ทำ บทความนี้ศึกษาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนในแต่ละด้านและภาพรวม ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งประเมินความพึงพอใจต่อเนื้อหาหลักสูตรในภาพรวมและรายด้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนและนักวิจัยโครงการที่เข้าร่วมฯ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสายสนับสนุน มีความรู้ด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ระดับปานกลางไม่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยแต่ละบุคคลมีทักษะและประสบการณ์ด้านการฟังรายด้าน และการเขียนรายด้านน้อยพอๆ กัน ส่วนด้านการพูดรายด้านและด้านการอ่านรายด้านมีทั้งผู้ที่มีประสบการณ์มากและน้อยปนกัน ขณะที่ด้านความคาดหวังต่อการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน  มีทั้งผู้ที่คาดหวัง และไม่คาดหวังต่อปนกัน ด้านความพึงพอใจ แต่ละบุคคลมีความพึงพอใจต่อเนื้อหาหลักสูตรมากเท่า ๆ กัน

สรุปผล: การพัฒนาทักษะ และความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานครั้งนี้ ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะ คือ 1) สถาบันฯ ควรดำเนินการจัดอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษของตนเอง อันส่งผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย 2) ผู้รับผิดชอบ ควรจัดทำแบบวัดระดับความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคาดหวังต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของกลุ่มเป้าหมายก่อน เพื่อนำมาวางแผนและแบ่งกลุ่มออกแบบเนื้อหาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา

กาญจนา แก้วบ้านดอน, ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบวรมงคล. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 202-211.

เขมณัฎฐ์ มาศวิวัฒน์, กัลยา นราวัฒนะ และ นิสาชล สันหมาน. (2559). ความต้องการพัฒนาของบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท, 10(1), 151-159. https://www.council-uast.com/journal/upload/fullpaper/23-07-2021-937700443.pdf

จันทร์สุดา บุญตรี. (2561). ศึกษาและพัฒนานวตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสู่สากล: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. วารสารรมยสาร, 16(2), 171-194.

จิราภรณ์ พรหมทอง. (2559). การพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 10(2), 63-72.

ชนม์ณภัทร เจริญราช. (2563). การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 11(2), 147-163.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรีดาพร คณทา, และ ดารารัตน์ อินทร์คุ้ม. (2559). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แนวคิดใหม่. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 1(1), 62-70.

พระมหาธีรวีร์ ธีรวฑฒนเมธี. (2564). แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์: ทรรศนะจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยและพุทธปรัชญา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.https://e-thesis.mcu.ac.th/storage/y9qdWu5bglhviIBDHcDRRsDU4pip5scvuZt0xfNc.pdf

พระศรีสิทธิมุนี. (2564). การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 3(3), 922-934.

พีรพันธุ์ แสงเพชร. (2562). The Guidelines of Self Improvement for Employees to be Professionals and Create Competitive Adventage of Electrical Indiusty in Rayong Province. Journal of Industrial Business Administration, 1(2), 69–81. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/232158

รัตนะ บัวสนธิ์. (2556). การออกแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน: เรียนรู้เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 2(1), 1-8.

วลัยพร กาญจนาทารุณ และ ธีรัช ปัญโญ. (2561). ความสำเร็จของนักเรียนและความคาดหวังของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่, วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 8(2), 58-76.

วิไลพร ขำวงษ์, สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์, สุรศักดิ์ สุนทร และ สุชีวา วิชัยกุล. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของบุคลากรสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, 30(3), 223-234.

ศันสนีย์ บุญนิธิประเสริฐ, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2562). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารอิเลคทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-13. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/199208/155883

ศิริลักษณ์ ถิรบรรจงเจริญ. (2560). ความต้องการในการพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษแก่บุคลากรระดับหัวหน้างานและผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2565). ความร่วมมือกับองค์กรทั่วโลก. https://ipsr.mahidol.ac.th/about-us.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). ได้มีแนวทางการพัฒนาบุคลากรภารรัฐ พ.ศ. 2563-2565. https://www.ocsc.go.th/civilservice.

Aune, AS., Huglen, M., & Lim, D. (2000). English Education and Communication Studies: Ambiguity in the International Airway. Eric Clearing House: Bloomington.

Clement, A., Murugavel, T. (2018). English for the workplace: The importance of English language skills for effective performance. The English Classroom, 20(1), 1-15.

Talaue, F. G., & Kim, M. K. (2020). Investigating the Advantages of English Medium Instruction (EMI) in the Indonesian Workplace. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 13(2), 321-334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-12

How to Cite

ไข่ลือนาม ว. ., & เปี่ยมสวัสดิ์ ป. . (2025). การพัฒนาทักษะ และความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 791–806. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280537