ศาสตร์คหกรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280529คำสำคัญ:
ศาสตร์คหกรรม, มูลค่าเพิ่ม, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, พริกทอดบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนชาวชัยภูมิ ภายใต้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ การฝึกอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำผลิตภัณฑ์พริกทอด ซึ่งภายหลังจากการดำเนินโครงการ ผู้วิจัยในฐานะวิทยากรและผู้รับผิดชอบโครงการ จึงดำเนินการวิจัยเพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการในปีงบประมาณถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ (1) เพื่อประเมินโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนชาวชัยภูมิในหัวข้อ “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (พริกทอด)” และ (2) เพื่อศึกษามุมมองของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์พริกทอด
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนชาวจังหวัดชัยภูมิที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: (1) ผลการประเมินโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนชาวชัยภูมิในหัวข้อ “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (พริกทอด)” ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านปัจจัยนำเข้า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิต มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการศึกษามุมมองของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์พริกทอด ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล: จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนชาวชัยภูมิในหัวข้อ “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (พริกทอด)” มีปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์บรรลุตามเป้าหมายและในมุมมองผู้เข้ารับการอบรมเห็นว่าโครงการอบรมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์พริกทอดได้
References
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). แผนกําหนดการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร เทียบโอนหน่วยกิต. Retrieved May 30, 2024, from: https://www.ru.ac.th/th/Center_study_plan /15/03-4
ชุติเดช สุวรรณมณี. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 159-179.
ทรงยุทธ ต้นวัน และรัชตาพร บุญกอง. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ด้านการแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร). วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(1), 112-126.
ประทุมพร วีระสุข. (2563). การบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. (2567). ประวัติความเป็นมา. Retrieved May 29, 2024, from: http://www.chaiyaphum.ru.ac.th/index.php
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์. Retrieved May 31, 2024, from: http://www.eco.ru.ac.th/images/document/quality/P2.pdf
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2567). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. Retrieved May 31, 2024, from: https://www.ru.ac.th/th/AboutUs/page?view=Vision
สุนทร ปัญญะพงษ์, อัญชลี ชัยศรี, ทัศไนวรรณ ดวงมาลา และอัญชิรญา จันทรปิฎก. (2566). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านไทรงาม ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 39-51.
อินทุราภรณ์ มงคลขจรกิตติ และอรรถ อภินนท์ธีระศักดา. (2562). การพัฒนาศักยภาพและกระบวนการผลิตของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชัยภูมิ.วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 169-181.
Babcock, B. A., & Clemens, R. (2004). Geographical indications and property rights: Protecting value-added agricultural products. Iowa Ag Review, 10(4), 4-7.
Barham, E., Lind, D., Jett, L., & Stewart, K. (2015). Regional foods and rural development: What is the role of value-added agriculture? Journal of Rural Social Sciences, 30(1), 25-46.
Bushnell, D. S. (1990). Input, process, output: a model for evaluating training. Training & Development Journal, 44(3), 41-43.
Duarte, P., Silva, S. C., Roza, A. S., & Dias, J. C. (2024). Enhancing consumer purchase intentions for sustainable packaging products: An in-depth analysis of key determinants and strategic insights. Sustainable Futures, 7, 1-10.
Garcia-Garcia, G., Stone, J., & Rahimifard, S. (2017). Opportunities for waste valorization in the food industry – A case study with four UK food manufacturers. Journal of Cleaner Production, 118, 276-286.
Ilbery, B., & Maye, D. (2005). Alternative (shorter) food supply chains and specialist livestock products in the Scottish-English borders. Environment and Planning A, 37(5), 823-844.
Kostanjevec, S., & Kozina, F. L. (2021). Home Economics Education as Needed in the 21st Century. Center for Educational Policy Studies Journal, 11(4), 7-11.
Pomarici, E., & Vecchio, R. (2014). Millennial generation attitudes to sustainable wine: An exploratory study on Italian consumers. Journal of Cleaner Production, 66, 537-545.
Subiyakto, A. & Ahlan, A. R. (2014). Implementation of Input-Process-Output Model for Measuring Information System Project Success. TELKOMNIKA Indonesian Journal of Electrical Engineering, 12(7), 4893 – 4899.
Vasileiadis, T., Tzotzis, A., Tzetzis, D., & Kyratsis, P. (2019). Combining product and packaging design for increased added value and customer satisfaction. Journal of Graphic Engineering and Design, 10(2), 5-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ