การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเยาวราชเพื่อความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280231คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวล้นทะลัก, ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ย่านเยาวราชในกรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับปัญหาการท่องเที่ยวล้นทะลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการจราจร สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยว ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การรับรู้ภาพลักษณ์ และประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวเยาวราช 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการท่องเที่ยว ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การรับรู้ภาพลักษณ์ กับประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวเยาวราช 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างองค์ประกอบการท่องเที่ยว ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การรับรู้ภาพลักษณ์ กับประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวเยาวราช และ 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเยาวราชที่มีประสิทธิภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณคือนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติจำนวน 600 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่า IOC 0.89 และความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ประกอบด้วยผู้บริหารภาครัฐ ผู้ประกอบการ และตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้าเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ผลการวิจัย: พบว่า 1) องค์ประกอบการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.80) 2) นักท่องเที่ยวรับรู้ภาพลักษณ์ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) 3) องค์ประกอบการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงกับประสิทธิภาพการจัดการ
(r = 0.68-0.75 4) นำเสนอรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวย่านเยาวราชที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในระยะยาว
สรุปผล: แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเยาวราชที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ประกอบด้วย 6 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว โดยอนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น 2) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การพัฒนาที่พักให้หลากหลายและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 4) การเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงและการจัดการจราจร 5) การยกระดับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และ 6) การส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในระยะยาว
References
กรรณิกา สงวนสินธุกุล และวิญญู อาจรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1), 59-76.
กรุงเทพมหานคร. (2562). ประวัติเยาวราช. กรุงเทพฯ: สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว.
ขวัญใจ ประเสริฐศรี. (2565). ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(2), 1-15.
ฐิติพงศ์ ศรีพิทักษ์. (2566). แนวทางการจัดการภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมืองในเยาวราช: กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการจัดการการท่องเที่ยว, 5(1), 112-130.
นิธินันท์ ประเสริฐทรัพย์, มณีศรี สุรศักดิ์ และชัยยศ บุญช่วย. (2565). การจัดการภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมืองในเยาวราช: มุมมองของชุมชนท้องถิ่น. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 18(2), 45-62.
ศิริพร ทิพย์เกษร. (2566). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนเยาวราช: มุมมองของชุมชนท้องถิ่น. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 19(1), 78-95.
สุรศักดิ์ มณีศรี. (2564). ผลกระทบของภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมืองในเยาวราช กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(2), 1-22.
Acharya, A. S., Prakash, A., Saxena, P., & Nigam, A. (2013). Sampling: Why and how of it? Indian Journal of Medical Specialties, 4(2), 330-333.
Beauchamp, T. L., & Childress, J. F. (2001). Principles of biomedical ethics. (5th ed.). Oxford University Press.
Bramwell, B., & Lane, B. (2011). Critical research on the governance of tourism and sustainability. Journal of Sustainable Tourism, 19(5), 411-421.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism Management, 21(1), 97-116.
Butler, R. W. (1980). The concept of a tourist area cycle of evolution: Implications for management of resources. Canadian Geographer, 24(1), 5-12.
Butler, R. W. (1999). Sustainable tourism: A state‐of‐the‐art review. Tourism Geographies, 1(1), 7-25.
Chen, S., & Kumar, V. (2021). Exploring the role of food tourism in destination branding: A study of Yaowarat, Bangkok's Chinatown. Journal of Tourism Studies, 33(2), 145-162.
Chen, Y., & Wang, L. (2022). Destination image perception and tourist loyalty: A meta-analysis. Tourism Management, 88, 104400.
Cohen, E. (1972). Toward a sociology of international tourism. Social Research, 39(1), 164-182.
Creswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches (3rd ed.). Sage.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting mixed methods research (3rd ed.). SAGE Publications.
Doe, J. (2023). Understanding destination image: A comprehensive review. Journal of Travel Research, 62(4), 789-801.
Dredge, D. (2017). "Overtourism" Old wine in new bottles? Tourism Recreation Research, 42(4), 391-396.
Dwyer, L., & Kim, C. (2003). Destination competitiveness: Determinants and indicators. Current Issues in Tourism, 6(5), 369-414.
Echtner, C. M., & Ritchie, J. R. B. (2003). The meaning and measurement of destination image. Journal of Tourism Studies, 14(1), 37-48.
Faulkner, B., & Tideswell, C. (1997). A framework for monitoring community impacts of tourism. Journal of Sustainable Tourism, 5(1), 3-28.
Goodwin, H. (2017). The challenge of overtourism. Responsible Tourism Partnership Working Paper 4.
Guest, G., Bunce, A., & Johnson, L. (2006). How many interviews are enough? An experiment with data saturation and variability. Field Methods, 18(1), 59-82.
Hall, C. M. (2019). Constructing sustainable tourism development: The 2030 agenda and the managerial ecology of sustainable tourism. Journal of Sustainable Tourism, 27(7), 1044-1060.
Hall, C. M. (2008). Tourism planning: Policies, processes and relationships. Pearson Education.
Koens, K., Postma, A., & Papp, B. (2018). Is overtourism overused? Understanding the impact of tourism in a city context. Sustainability, 10(12), 4384.
Kostrowicki, J. (1970). Geographical typology of agriculture. Principles and methods. An invitation to discussion. Geographia Polonica, 19, 249-269.
Kowalski, R. M., & Limber, S. P. (2013). Psychological, physical, and academic correlates of cyberbullying and traditional bullying. Journal of Adolescent Health, 53(1), S13-S20.
Leiper, N. (1990). Tourist attraction systems. Annals of Tourism Research, 17(3), 367-384.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Milano, C., Cheer, J. M., & Novelli, M. (2019). Overtourism: Excesses, discontents and measures in travel and tourism. CABI.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). Sage.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). McGraw-Hill.
O'Reilly, A. M. (1986). Tourism carrying capacity: Concept and issues. Tourism Management, 7(4), 254-258.
Pearce, P. L. (1988). The Ulysses Factor: Evaluating Visitors in Tourist Settings. Springer-Verlag.
Pongpanich, T., & Intarat, N. (2020). Managing overtourism in Yaowarat: A case study of Bangkok's Chinatown. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 15(1), 1-20
Presenza, A., Sheehan, L., & Ritchie, J. B. (2005). Towards a model of the roles and activities of destination management organizations. Journal of Hospitality, Tourism and Leisure Science, 3(1), 1-16.
Richards, G., & Hall, D. (2000). Tourism and sustainable community development. Routledge
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Smith, A. (2023). The role of communication in shaping destination image. Tourism Management Perspectives, 45, 100959.
Song, H., & Li, G. (2022). Tourism overload in heritage sites: A case study of Xi'an, China. Journal of Sustainable Tourism, 30(2-3), 522-541.
United Nations Environment Programme (UNEP) and World Tourism Organization (UNWTO). (2005). Making Tourism More Sustainable - A Guide for Policy Makers. UNEP and UNWTO.
United Nations World Tourism Organization (UNWTO). (2019). Overtourism? Understanding and managing urban tourism growth beyond perceptions. Madrid: UNWTO.
United Nations World Tourism Organization (UNWTO). (2004). Indicators of sustainable development for tourism destinations: A guidebook. Madrid: UNWTO.
Wall, G. (1999). Sustainable tourism – unsustainable development. In J. J. Pigram & S. Wahab (Eds.), Tourism, Development and Growth: The Challenge of Sustainability (pp. 33-49). Routledge.
World Tourism Organization. (2019). Overtourism? Understanding and Managing Urban Tourism Growth beyond Perceptions. Madrid: UNWTO.
Zúñiga, F. (2018). The history of Bangkok's Chinatown. In Urban Development in Asia and the Pacific (pp. 145-160). Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ