แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทองของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280213

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทองมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่ยังขาดการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และและวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง

ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย 500 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบระบบ (แบบสอบถามมีค่า IOC = 0.67, ค่าความเชื่อมั่น = 0.902) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

ผลการวิจัย: พบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวและเพื่อน นิยมท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับในวันหยุดสุดสัปดาห์ 2) สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจท่องเที่ยว
3) วัตถุประสงค์และระยะเวลาในการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยรองลงมา 4) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมความปลอดภัย การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาบุคลากร การบูรณาการความร่วมมือ และการจัดการงบประมาณ

สรุปผล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทองที่เสนอจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นในระยะยาว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2566ก). รายงานสถิตินักท่องเที่ยว ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว. (2566ข). รายงานสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว ปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2564. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จิราพร ทองอยู่. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(1), 1-15.

จุฑารัตน์ ศรีจันทร์. (2565). การวิเคราะห์ช่องทางการรับข้อมูลและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว. วารสารการท่องเที่ยวไทย, 17(2), 45-60.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 64-80.

ณัฐวัฒน์ แก้วจันทร์. (2566). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางวัฒนธรรมในภาคกลาง. วารสารการจัดการการท่องเที่ยว, 8(1), 78-95.

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และณัฐพล วงษ์ชื่น. (2565). แรงจูงใจและความสนใจของนักท่องเที่ยวในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. วารสารการท่องเที่ยวและการโรงแรม, 20(3), 112-130.

ธีราพร กาญจนวัตร. (2565). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(2), 45-60.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในยุคโควิด-19. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(1), 1-15.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์, สุนทร บุญแก้ว และธนาวุฒิ นิลมณี. (2566). พฤติกรรมการเดินทางและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 19(1), 25-42.

เลิศศักดิ์ ประเสริฐสุข. (2565). บทบาทของการท่องเที่ยวในการส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม. วารสารสังคมศาสตร์, 24(1), 78-95.

วรรณา ศิลปอาชา, ระชานนท์ ทวีผล และสุธาทิพย์ เข็มน้อย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(2), 45-62.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุธาทิพย์ เข็มน้อย, วรรณา ศิลปอาชา และระชานนท์ ทวีผล. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 18(2), 56-75.

อรัญญา จิระประภากุล. (2565). แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารการจัดการการท่องเที่ยว, 12(3), 112-130.

Buckley, R. (2012). Sustainable tourism: Research and reality. Annals of Tourism Research, 39(2), 528-546.

Butler, R. W. (1980). The concept of a tourist area cycle of evolution: Implications for management of resources. Canadian Geographer, 24(1), 5-12.

Cohen, E. (1972). Toward a sociology of international tourism. Social Research, 39(1), 164-182.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2018). Designing and conducting mixed methods research (3rd ed.). Sage publications.

Filieri, R., Acikgoz, F., Ndou, V., & Dwivedi, Y. (2021). Is Trip-Advisor still relevant? The influence of review credibility, review usefulness, and ease of use on consumers' continuance intention. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 33(1), 199-223.

Gretzel, U., Sigala, M., Xiang, Z., & Koo, C. (2015). Smart tourism: foundations and developments. Electronic Markets, 25(3), 179-188.

Hinkle, D. E., Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2003). Applied statistics for the behavioral sciences (5th ed.). Boston: Houghton Mifflin.

Hsieh, H. F., & Shannon, S. E. (2005). Three approaches to qualitative content analysis. Qualitative Health Research, 15(9), 1277-1288.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson.

Okazaki, E. (2008). A community-based tourism model: Its conception and use. Journal of Sustainable Tourism, 16(5), 511-529.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative research & evaluation methods: Integrating theory and practice (4th ed.). Sage publications.

Pearce, P. L. (2005). Tourist behaviour: Themes and conceptual schemes. Channel View Publications.

Pine, B. J., & Gilmore, J. H. (1998). Welcome to the experience economy. Harvard Business Review, 76, 97-105.

Sigala, M. (2020). Tourism and COVID-19: Impacts and implications for advancing and resetting industry and research. Journal of Business Research, 117, 312-321.

Timothy, D. J., & Boyd, S. W. (2006). Heritage tourism in the 21st century: Valued traditions and new perspectives. Journal of Heritage Tourism, 1(1), 1-16.

Varkaris, E., & Neuhofer, B. (2017). The influence of social media on the consumers' hotel decision journey. Journal of Hospitality and Tourism Technology, 8(1), 101-118.

Zemla, M., & Siwek, T. (2021). The impact of the COVID-19 pandemic on the development of selected trends in tourism consumption. Sustainability, 13(13), 7246.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-09

How to Cite

กาญจนพงษ์ ท. ., & วีระโสภณ ว. . (2025). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดอ่างทองของนักท่องเที่ยวชาวไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(1), 401–422. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280213