แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279999

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ความเป็นพลเมืองที่ดี, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: การศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียน นักศึกษาทุกระดับนั่นเพราะสถานศึกษาเป็นสถาบันทางสังคมที่จะช่วยพัฒนาให้คนเป็นพลเมืองดี โดยทั่วไปการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีความเป็นพลเมืองดี และมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมได้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง 253 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 คน และครูผู้สอน จำนวน 205 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.76 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาแนวทาง จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนา

ผลการวิจัย: 1. สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเรียงลำดับตามผลตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) เคารพกฎกติกา 2) เคารพสิทธิผู้อื่น 3) ความรับผิดชอบ และ 4) คุณธรรมและจริยธรรม ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 14 แนวทาง ได้แก่ 1) เคารพกฎกติกา มี 3 แนวทาง 2) เคารพสิทธิผู้อื่น มี 3 แนวทาง 3) ความรับผิดชอบ มี 3 แนวทาง และ 4) คุณธรรมและจริยธรรม มี 5 แนวทาง และแนวทางมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: คุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นคุณลักษณะของนักเรียนในการแสดงออกถึงการมีความรู้ความเข้าใจ ความคิดหรือเจตคติ และการปฏิบัติตนในทางที่ดีงามต่อตนเอง ต่อผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคมและมีความเคารพผู้อื่น ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีคุณธรรมจริยธรรม ภาคภูมิใจในความเป็นไทย เคารพกฎหมายและกติการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษากรวมทั้งการแสดงออกถึงการเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะ มีวินัยและรับผิดชอบต่อตนเอง เคารพความแตกต่างและสิทธิของบุคคลอื่นและรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความรับผิดชอบ 2) เคารพกฎกติกา 3) คุณธรรมและจริยธรรม และ 4) เคารพสิทธิผู้อื่น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. Retrieved on January 3, 2021 from: www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/21432- 6446.pdf.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2559). ภาคประชาชนเข้มแข็งเมื่อประชาชนเป็น "พลเมือง". กรุงเทพฯ: สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD).

คณะกรรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามวิถีรัฐธรรมนูญ. (2559). การถอดบทเรียน “แบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง : มิติในประเทศและมิติของอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ชัยยศ จินารัตน์. (2565). แนวทางการพัฒนาปัจจัยองค์ประกอบความเป็นพลเมืองดีให้มีผลต่อประชาสังคมแนวใหม่. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6 (2), 241-252.

ธงชัย สมบูรณ์. (2562). รัฐชาติ : การศึกษาและการสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 1 (1), 9-14.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปริญญา เทวนฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2561). ความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทย (Thai Youth’s Citizenship). วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 5 (1), 187-209.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). คู่มือประชาชน “พลเมืองคุณภาพ”. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาเครือข่ายการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานการวิจัยการศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุนันทา ภักดีไทย. (2561). องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาวะผู้นําการจัดการศึกษา. สุราษฎร์ธานี : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุภีร์ สมอนา. (2558). ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโครงการโรงเรียนพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

สุวิมล ว่องวานิช (2558).การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนนักศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd edition. New York: Harper. And Row.

Harris, C. (2010) Active Democratic Citizenship and Service-Learning in the Postgraduate Classroom. Journal of Political Science Education, 6 (3), 227-243, DOI: 10.1080/15512169.2010.494475

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08

How to Cite

บุปผา ส. ., & ดวงชาทม ก. . (2024). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 847–862. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279999