การพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279762คำสำคัญ:
คู่มือ, คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งส่งกระทบต่อการพัฒนาประเทศ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และเพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
ระเบียบวิธีการวิจัย: ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 400 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำโครงร่างของคู่มือ โดยกำหนดกรอบเนื้อหา ประกอบด้วย 5 ด้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ โดยนำร่างคู่มือเสนอตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 6 คน และตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และใช้เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของคู่มือเป็นแบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 4 การจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\overline{x}=3.99) และมีความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้สูงอายุต้องการให้ผู้นำชุมชนส่งเสริมการทำบัญชีรายรับรายจ่าย หาอาชีพเสริมให้ และดูแลเรื่องสุขภาพให้ทั่วถึง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และส่งเสริมเรื่องการออมด้วย ส่วนคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น ใช้ลักษณะเป็นแผ่นพับ ประกอบด้วย หน้าปก หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ และผลที่ได้รับ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีการประเมินระดับความเหมาะสมของคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\overline{x}=3.44) และการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ ฯ โดยตัวแทนผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\overline{x}=3.50)
สรุปผล: ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าในการพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนั้น ต้องเริ่มจากการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อให้คู่มือที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและความต้องการของผู้สูงอายุมากที่สุด โดยวิธีการปฏิบัติตามคู่มือจะตอบสนองให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้ ทั้งนี้เมื่อมีการประเมินระดับความเหมาะสมของคู่มือที่พัฒนาขึ้นมาโดยผู้ที่เกี่ยวข้องพบว่าคู่มือมีความเหมาะสมในภาพรวมในระดับปานกลาง ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในระยะต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ ฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กอปรกมล ศรีภิรมย์ และปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์. (2561). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารเอเชียพิจาร ศูนย์การศึกษาเอเชีย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5 (9), 107-143.
กันตยา มานะกุล. (2550). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านจอมจันทร์ หมู่ที่ 2 ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.
ชล บุนนาคและภูษณิศา กมลนรเทพ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs). Retrieved on 20 July 2024 from: https://www.sdgmove.com/2019/09/27/sep-and-sdgs/
ณัฏยาณี บุญทองคำ และพระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (สุเทพ ดีเยี่ยม). (2563). คุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ภาวะโรคระบาด “โควิด-19”. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6 (4), 235-246.
ณิชาภา เจริญรุ่งเรืองชัย. (2547). คู่มือการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนดอนฉิมพลีพิทยาคม. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี - นครินทร์วิโรฒ.
นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
นุดี รุ่งสว่าง. (2543). การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (สุเทพ ดีเยี่ยม) (2563). ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 263–274. https://doi.org/10.14456/jra.2022.48
พัชรินทร์ จันทร์แจ้ง. (2559). การพัฒนาคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2567). เศรษฐกิจพอเพียง. Retrieved on 5 July 2024 from: https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html
เวธกา กลิ่นวิชิตและพิสิษฐ์ พิริยาพรรณ. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก. วารสารวิชาการ ปขมท., 9 (1), 80 – 93.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสมุทรปราการ. Retrieved on 5 July 2024 from: www.sumutprakan.m.society.go.th
Gunawan, I., Lin, M-H, & Hsu, H-C. (2020). Exploring the quality of life and its related factors among the elderly. South East Asia Nursing Research, 2 (1), 1-10.
Hidayati, A. R., Gondodiputro, S. & Rahmiati, L. (2018). Elderly Profile of Quality of Life Using WHOQOL-BREF Indonesian Version: A Community-Dwelling. Althea Medical Journal, 5 (2), 105-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ