การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน E-Learning สำหรับนักศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279760คำสำคัญ:
อีเลิร์นนิ่ง, รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, เรียนออนไลน์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โควิด 19 (COVID-19) สถาบันการศึกษาในหลายประเทศ นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ รวมถึงประเทศไทย และงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง สำหรับนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง สำหรับนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้แบบเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 73 คน และการสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ลักษณะคำถามปลายเปิด ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะนํามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย: ปัญหาที่พบมี 3 ด้าน ได้แก่ 1) จากผู้สอน ได้แก่ การบรรยาย การความคุมห้องเรียน การฝึกปฏิบัติ การจัดสอบ การใช้โปรแกรม ความชำนาญ และการจัดหาอุปกรณ์ 2) จากผู้เรียน ได้แก่ วินัย การเรียนรู้ การทำงานแทนกัน ขาดสมาธิ ขาดการปฏิสัมพันธ์ สุขภาพ ความชำนาญ และการจัดหาอุปกรณ์ และ3) จากอุปกรณ์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ความเสถียรของระบบ และความเสถียรของอุปกรณ์ ในส่วนของรูปแบบที่เหมาะสม คือ อีเลิร์นนิ่งที่เป็นทั้งระบบการเรียนการสอน หรือ การเรียนออนไลน์ ในลักษณะที่ผู้สอนวางแผนและออกแบบการสอนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนผ่านการเรียนทางไกล ซึ่งจะต้องทำให้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในห้องเรียนปกติ โดยใช้การสื่อสารในรูปแบบการเรียนการสอนแบบประสานเวลา
สรุปผล: ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมคือ อีเลิร์นนิ่ง ซึ่งผู้สอนควรวางแผนและออกแบบการสอนให้ใกล้เคียงกับการเรียนในห้องเรียนปกติ และใช้การสื่อสารแบบประสานเวลาเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
References
ฌานีกร ปรารถนารักษ์. (2558). การศึกษาสภาพการใช้ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดพิจิตร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นิ่ง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
นรินธน์ นนทมาลย์, นริศรา เสือคล้าย, กัลวรา ภูมิลา, สุมิตรา อินทะ และณัฐพงษ์ พรมวงษ์ (2564). การสำรวจปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 6(20), 61-73.
ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา. (2565). การศึกษาสภาพและปัญหาเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนทางออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 104-116.
ภัสสรา จตุโชคอุดม, ชนิดา มิตรานันท์ และประพิมพ์พงศ์ วัฒนะรัตน์. (2565). สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายมัธยม). Journal of Modern Learning Development, 7(4), 265-286.
มาร์เก็ตติ้งออฟ. (2563). “COVID-19” ปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก! ใช้เทคโนโลยีเรียนรูปแบบใหม่ – ‘มหาวิทยาลัยไทย’ สอนผ่านออนไลน์. Retrieved on 18 May 2020 from https://www.marketingoops.com/exclusive/business-case/covid-19-reinvent-global-education-system-with-educational-technology/
วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2534). การศึกษาทางไกล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดชั้นสูง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริเดช คำสุพรหม. (2563). CIBA_มธบ.ชี้ยุคโควิด-19 หลักสูตรการเรียนการสอนไทยต้องเปลี่ยนแปลง. Retrieved on 18 May 2020 from https://thailandinsidenew.com/2020/05/15/ciba_มธบ-ชี้ยุคโควิด-19-หลักสูต/
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ และอรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์. (2565). ปัญหาและความท้าทายในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 5(1), 172-180.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2553). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร M-Z ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ