บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279449คำสำคัญ:
ผู้บริหารสถานศึกษา, ความสัมพันธ์, โรงเรียนกับชุมชนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เพื่อปรับปรุงทรัพยากรและการสนับสนุนสำหรับนักเรียนและเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมได้รับการส่งเสริมจากผู้บริหารที่มีความสามารถ ทำให้ชุมชนการศึกษาแข็งแกร่งและขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 357 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Alpha Coeffcient) ตามวิธีการของคอนบาก (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.995 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพื้นฐาน t – test รูปแบบ Paired Samples t-test และ F-test (One – Way ANOVA)
ผลการวิจัย: (1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านสร้างความสัมพันธ์ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดกิจกรรม และด้านติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นขอครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้ (2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษา ต่างกันมีความเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน (2.2) ครูที่มีตำแหน่ง และครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
บทสรุป: จากการศึกษาพบว่าครูมีความคิดเห็นสอดคล้องและเห็นด้วยเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนผ่านกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ความคิดเห็นเหล่านี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามบทบาท จำนวนนักเรียน หรือภูมิหลังการศึกษาของครู
References
เกรียงไกร สังข์ทอง และในตะวัน กำหอม. (2564). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระอุปถัมภ์ฯ. วิทยาลัยทองสุข.
ชูชาติ พวงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1), 34-41.
ณรงค์ศักดิ์ วะโร (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ทัศนีย์ บุญมาภิและคณะ. (2561). รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. จังหวัดนครราชสีมา.
นพภัสสร เลิศยศอนันต์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิทัศน์ ชาวโพธิ์พระ. (2560). การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชนตามการรับรู้ของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บรรจง ลาวะลี. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
ประมาณ แสงเพ็ชร (2560). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ไพรัตน์ นิ่มบัว. (2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพศาล วรคำ. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสาคาม: ตักศิลาการพิมพ์
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาล แหลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์. (2564). การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 210-224.
อริญา พึ่งป่า. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหลายสัญชาติ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
Epstein, J. L., & Sheldon, S. B. (2016). The importance of school, family, and community partnerships. In S. M. Sheridan & E. M. Moorman Kim (Eds.), Foundational aspects of family-school partnership research (pp. 15-38). Springer International Publishing.
Sanders, M. G. (2006). Building school-community partnerships: Collaboration for student success. Corwin Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ