รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279422คำสำคัญ:
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผล, โรงเรียนปฐมวัยเอกชน;สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาการในทุกด้านของช่วงอายุแรกเกิดจนถึงห้าขวบ หรือวัยก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งที่มักเรียกกันว่า “เด็กปฐมวัย” ให้มีพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการแล้วก็จะสามารถเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพ ส่งผลดีต่ออนาคตของสังคมและประเทศชาติ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 และ (2) เพื่อนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน จำนวน 26 โรงเรียน, สังกัดสำนักงานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 378 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธี G *Power และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (proportional stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและครู ของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน สังกัดสำนักงานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model Analysis: SEM)
ผลการวิจัย: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งมีดัชนีวัดระดับความกลมกลืน GFI และ AGFI มีค่าเท่ากับ 0.96 และ 0.93 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่า 0.82 และเข้าใกล้ 0.79 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.013 ซึ่งน้อยกว่า 0.086
สรุปผล: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนปฐมวัยเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
References
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย.
จันทิมา รุ่งเรือง. (2563). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัล.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 11 (1), 55-75.
จุฑามาศ เยี่ยมกร. (2566). ภาวะผู้นำแบบนักพัฒนาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10 (7), 40-52.
ชญานิกา ศรีวิชัย. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Online). 2 (2), 221-231.
ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2544). ภาวะผู้นำ. เอกสารประกอบการสอนวิชา 1065101 หลักและทฤษฎีบริหารการศึกษา. กาญจนบุรี.
ณัฏฐกิตติ์ บุญเก่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปณิลิน จันภักดี. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประคอง บาทสุวรรณ. (2564). การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีธานี เขต 5.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5 (3), 632-647.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วรัชญ์ธารี ประกิ่ง. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร, 10(2), 270-280.
วารุณี จันพร (2566) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10 (2), 40-53.
วิบูลอร นิลพิบูลย์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร
วีระชัย บุญเพ็ง. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8 (1), 139-150.
สิรากรณ์ พูลสวัสดิ์. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.(2540). ความขัดแย้ง: การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟเพรส จำกัด.)
อมรประภา ชุมประทีป สุพรรณี สมนญาติ และราชันย์ บุญธิมา. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19 (1), 134-151.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.
Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (1991). Educational administration, theory, research and practice. New York: McGraw-Hill.
Senge, P.M. (2004). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. New York London Toronto Sydney Auckland
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ