การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279412คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักเรียนและทำให้การเรียนรู้มีความเป็นพลวัตและมีการโต้ตอบกันมากขึ้น ดังนั้นความสามารถของครูในการวางแผนและอำนวยความสะดวกจึงมีความสำคัญ นอกจากจะส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหาแล้ว ความสามารถนี้ยังช่วยให้นักเรียนสามารถรับมือกับความท้าทายที่อาจเผชิญในโลกแห่งความเป็นจริงได้อีกด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ (2) เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จากครูผู้สอนในแต่พื้นที่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เมื่อได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างแล้ว ใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรา ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) โดยวิธีแบบหมุนแกน (Rotation Method: Varimax with Kaiser Normalization) ทำการสกัดองค์ประกอบ ด้วยวิธีวิเคราะห์ส่วนหลักสำคัญ (Principal Component Method) และหมุนแกนแบบแวริแม็กซ์เพื่อรวบรวมหรือลดกลุ่มตัวแปรที่สังเกตได้
ผลการวิจัย: องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวความแปรปรวนสะสม 80.951 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มตัวแปรสังเกตได้จัดอยู่ในองค์ประกอบดังนี้ (1) การออกแบบการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอน มีระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ครูผู้สอนกำหนดจุดประสง์การเรียนรู้ รองลงมา คือ ครูผู้สอนกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และ ครูผู้สอนมีการปรับปรุงการเรียนการสอน (2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ครูผู้สอน มีระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ครูผู้สอนศึกษาความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รองลงมา คือ ครูผู้สอนใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้ และ ครูผู้สอนใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้ (3) การใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอน มีระดับสมรรถนะการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ครูผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของ เนื้อหาของบทเรียน รองลงมา คือ ครูผู้สอนวิเคราะห์คุณลักษณะและธรรมชาติ ของผู้เรียน และ ครูผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ (4) การวัดประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอน มีระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ครูผู้สอนกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการวัดตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ รองลงมา คือ ครูผู้สอนกำหนดจุดประสงค์การประเมินให้สอดคล้องจุดประสงค์ของการเรียนรู้ และครูผู้สอนประมวลและผสมผสานข้อมูลต่าง ๆ ของทุกรายการที่วัดได้
สรุปผล: สรุปผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 44 ตัวแปร มีน้ำหนัก องค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.528 ถึง 0.864 ประกอบด้วย การออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. Retrieved from: https://www.ipst.ac.th/about-us/mission2
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด. (2564). การอบรมพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ Active learning ในสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2553). แนวการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สินีนาฏ จันทะภา. (2564). “ครูยุคใหม่สู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ” สิ่งจำเป็นที่ต้องมี. Retrieved from: https://www.ipst.ac.th/news/12598/teacher_ipst.html.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2537). การสร้างมาตรวัดในการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อัมมาร สยามวาลา (2554). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง. เอกสารวิชาการนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยประจำปี 2556.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.
Zeiger, S. (2015). English Education. Miami State: Miami University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ