แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ สุขเกิด มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://orcid.org/0009-0000-7011-4407
  • มนสิชา อนุกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ https://orcid.org/0009-0000-2582-1727

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279249

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, การพัฒนา, การยั่งยืน, ชุมชน, การจัดการ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การท่องเที่ยวชุมชนเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่บริหารจัดการโดยชุมชน เพื่อให้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวส่งไปถึงคนในชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อการพัฒนาความยั่งยืน โดยหลักการทั่วไปของการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ มีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ระยะยาวและมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่ชุมชน การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความอยู่ดีมีสุข อัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนาจึงได้เกิดแนวความคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาบริบทและแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี และ2.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในประเด็นคำถาม การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทรัพยากรในชุมชน วัฒนธรรมประเพณี การส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชนในพื้นที่ก ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ทั้งหมดจำนวน 50 คน

ผลการวิจัย: 1. การศึกษาบริบทชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชีวิต พบว่า ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบรูณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ด้านวัฒนธรรมประเพณี มีวัฒนธรรมไทย - จีน ที่สืบทอดมานาน ด้านการบริหารจัดการ มีการกำหนดข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มและผู้มีว่วนเกี่ยวข้อง ด้านการมีส่วนร่วม มีความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนส่งเสริมและสนับสนุนกัน 2. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว พบว่า พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ 5 แนวทาง ตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยว

สรุปผล: จังหวัดอุทัยธานี มีความโดดเด่นของทรัพยากรการท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ การจัดการท่องเที่ยวมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกันบริหารจัดการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน แนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี กำหนดไว้ 4 แนวทาง คือ 1) พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 2) พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือแหล่งธรรมชาติ 3) พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โปรแกรม 1 – 2 คืน หรือเช้าไปเย็นกลับ 4) พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสไตล์โลคอล 5) พัฒนาเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบสนใจพิเศษ

Author Biography

อัจฉราวรรณ สุขเกิด, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13(2), 25-46.

ทัศน์ชัย ศิริวรรณ. (2564). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำเกี๋ยน. อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุรณิน รัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2562). โครงสร้างของระบบการท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 94 – 102.

แวคอดีเย๊าะ มะรอแม (2560).การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั ่งยืนของ จังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศรัณย์ สัธนานันต์ และคณะ. (2566). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 4(6), 232-245.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร และคณะ. 2559. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ. 9(1), 234-259.

สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2566 – 2570. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, อุทัยธานี.

แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อทิยาภรณ์ แก่นสุข. (2559). หลักการและแนวทางการบริหารการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.

อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกี้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Barbier, E.B. (1987). The Concept of Sustainable Economic Development. Environmental Conservation. 14(2), 101 – 110

Brundtland, H. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press.

Collier, A. & Harraway, S. (1997). Principles of Tourism. Auckland: Longman.

Ester, R.J. (1993). Toward sustainable development: From theory to praxis. Social Development Issues. 15 (3), 1 – 29.

Pelasol, J. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. International Peer Reviewed Journal JPAIR Multidisciplinary Research is being certified for QMS ISO 9001:2008 by the Anglo-Japanese American Registrars of the United Kingdom.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

How to Cite

สุขเกิด อ. ., & อนุกูล ม. . (2024). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดอุทัยธานี. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 523–536. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279249