การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่สอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกับการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279215คำสำคัญ:
หนังสืออ่านเพิ่มเติม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกับการสอนแบบปกติ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จากนั้นจับสลากเลือกนักเรียน 2 ห้อง โดยนักเรียนห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 และนักเรียนห้องที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมสอนโดยใช้การสอนแบบปกติ ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 8 แผน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผน หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย ๔ เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-test) แบบ independent
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.42/83.08 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม มีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย 4 เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง อยู่ในระดับมาก
สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสอนแบบมาตรฐาน สื่อการอ่านเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในวิชาภาษาไทย ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เอกสารการอ่านเพิ่มเติมดังกล่าวยังบรรลุและเกินเกณฑ์ประสิทธิภาพอีกด้วย
References
กุสุมา รักษมณี (2534). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เจตนา นาควัชระ. (2538). ทางไปสู่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2530). การฝึกสมรรถภาพสมองเพื่อพัฒนาคุณภาพการคิด. ปริญญา. นิพนธ์ กศ.ด., กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดารณีย์ จันทร์หอม. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านคําของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านคําคล้องจอง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดำเนิน ยอดยิ่ง. (2543). Vedio Glossary. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย. (2565). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย รายวิชา ภาษาไทย 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย.
พงษ์สิทธิ์ พลีกร (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับรูปแบบเกมโชว์โทรทัศน์ที่มีผลต่อ การคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยเพื่อการศึกษาต่อ เรื่องการสร้างคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 7 (2), 11-19.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,(2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Henriques,J.A., Brozmanova, J., Brendel, M. (1997). Role of PSO genes in the repair of photoinduced interstrand cross-links and photooxidative damage in the DNA of the yeast Saccharomyces cerevisiae. J Photochem Photobiol B. 39(3), 185-96. doi: 10.1016/s1011-1344(97)00020-1.
Richard, J. (1985). Longman Dictionary of Applied Linguistics. London: Longman.
Taylor, A. J. R. (1979). A Comparison of Simulation Games with Traditional Teaching Methods. Dissertation Abstracts International, 40(5), 788-789.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ