ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.279159คำสำคัญ:
ความพึงพอใจของลูกค้า, ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน, บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยเกี่ยวกับบริการโทรศัพท์บ้านถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการข้อร้องเรียน ปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มการรักษาลูกค้า นอกจากนี้ การทำความเข้าใจระดับความพึงพอใจของลูกค้ายังช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในภาคโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะรสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ (2) การวิเคราะห์ไปพัฒนารูปแบบการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีมาตรฐาน
ระเบียบวิธีการวิจัย: การใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิง สถิติที่ใช้ คือ การทดสอบแบบที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย: ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ของผู้ใช้บริการในรุงเทพมหานคร การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ให้บริการโดย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ของผู้ใช้บริการในรุงเทพมหานคร (Y1) กลุ่มลูกค้าในรุงเทพมหานคร ด้านการประชาสัมพันธ์ (X2) มีค่า P-value เท่ากับ 0.001 น้อยกว่า 0.05 (0.000 < 0.05) และ ด้านส่งเสริมการขาย (X3) มีค่า P-value เท่ากับ 0.001 น้อยกว่า 0.05 (0.000 < 0.05) สามารถเขียนเป็นสมการการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ Y=181.516 + 1.344 (X2) + 2.312 (X3)
สรุปผล: จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ตามด้วยทำความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
References
กชพร สว่าง (2566). การศึกษาโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (Tik Tok) ที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้งานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13(3), 28-43.
กนกพร นามชาติ พรรณวดี ขำจริง และ ลลิดา ภคเมธาวี. (2560). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อนโยบาย “เราจะเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 3(1), 95-102.
กรวิทย์ เจริญวิศาล. (2561). ความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาด และความภักดีต่อการใช้บริการ MYMO ของลูกค้าธนาคารออมสิน สํานักงานใหญ่. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปี การศึกษา 2561.
ไกรสิทธิ์ สิงห์ยะบุศย์. (2566). การจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัยความสำเร็จ: กรณีศึกษาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน). Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(1), 41–50. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95105
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร
พุทธิพันธ์ ศิริพันธ์. (2555). ปัญหาและกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์ : กรณีศึกษา ศูนย์ Procheck สาขาสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธรุกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิมลิน สุขสวัสดิ์, ณัฐฌา อิสรานุววัฒน์, ปฐริกาล์ กุหลาบทิพย์, ภูริวัจน์ อำนาจนันทสิทธิ์, วีรยุทธ์ สาลีฉันท์, ศุภชัย เหมือนโพธิ์, ทาริกา สระทองคำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 4(1), 46-52.
อดุลย์ ทรายตัน. (2557). ศักยภาพและกลยุทธ์ระบบการบริหารจัดการของโรงงานเซรามิกขนาดเล็กในการเตรียมความพร้อมเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 6(3), 24-39.
Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing—An Introduction. 9th Edition, Pearson International Edition, Prentice Hall, Upper Saddle River.
Assawapongvanich, K. (2021). Factors Affecting the Development of Learning Materials Using Digital Technology Platforms: A Case Study of Infographics for Learning. Journal of Management Science Review. 23(2), 155-164.
Phatrakul, S., Sangtongluan, C., Punoiam, K., & Sirawaritsara, A. (2021). The Concept of Strategic Management to strengthen Community. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 8(2), 717-738.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ