การพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.279020คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์, บรรยากาศองค์การ, ความรู้เชิงลึกบทคัดย่อ
ภูมิหลังและนวัตกรรม: นวัตกรรมนั้นเป็นความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยี และการจัดการมาพัฒนาให้เกิดสิงใหม่ที่สามารถสร้างความสำเร็จหรือผลกระทบเชิงบวกต่าง ๆ ต่อองค์กร ซึ่งนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ บรรยากาศองค์การ ความรู้เชิงลึก และความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) พัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ระเบียบวิธีวิจัย: ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำหรือผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเน้นหน่วยงานที่ได้รางวัลด้านนวัตกรรมการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10 ราย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากผู้นำหรือผู้บริหารและพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 706 ราย เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย: 1) ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อตัวแปรตามกรอบแนวคิด ทุกตัวแปรมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยบรรยากาศองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และความรู้เชิงลึก ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเขตนครชัยบุรินทร์ พบว่า บรรยากาศองค์การและความคิดสร้างสรรค์ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความฉลาดทางอารมณ์และความรู้เชิงลึกไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ภาวะผู้เชิงนวัตกรรมต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม ตื่นตัวต่อโอกาสในการเกิดนวัตกรรม มีทักษะการคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรม แสดงออกถึงความสามารถในการคิดและทำสิ่งใหม่ ตลอดจนแสดงบทบาทของผู้นำที่สร้างบรรยากาศองค์การ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม และความสะดวกให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล
สรุปผล: ผลการวิจัยทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบย่อยสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมในเชิงการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเห็นถึงแนวทางในการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นอันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2558). นวัตกรรมท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2563). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ. Retrieved on December 15, 2022, from: http://www.dla.go.th
กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ. กระทรวงสาธารณสุข.
การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผุ้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กุลชลี จงเจริญ. (2561). เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กุลนาถ แย้มวงค์ และชนมณี ศิลานุกิจ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. วารสารวิจัยราชภัฎกรุงเก่า, 10 (1),137-150.
นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิติกร ระดม และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์ (2566).ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสหวิทยาเขตรัชวิภา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. 8 (2), 73-84
นิรันดร์ เนตรภักดี. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำอย่างแท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประดิษฐ์ ศรีประไหม (2562).ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการงบประมาณแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันอออกเฉียงเหนือตอนกลาง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ภาวิณี ลักขษร และกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2562). เงื่อนไขการเกิดนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10(2),109-126.
ศุภกานต ประเสริฐรัตนะ. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. ดุษฎีนิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติข้อกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สุรีย์รัตน์ พัฒนเธียร และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2552). ตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 30(2), 130-142.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อริศษา กลอยพรมราช และเสาวลักษณ์ จิตต์น้อม (2562) บรรยากาศองค์กร และความผูกพันต่อองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัทหลักทรัพย์ A และบริษัทหลักทรัพย์ B. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(4), 146-159.
อุดมพร แกวประดิษฐ์. (2546). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและเชาวน์อารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการของผู้บริหารโรงงานผลิตรองเท่ากีฬาแห่งหนึ่ง . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Adjei, D. (2013). Innovation leadership management. International Journal of ICT and Management, 1: 103-106
Albert, A. & Kormos, J. (2004). Creativity and narrative task performance: an exploratory study. Language Learning, 54(2), 277 - 310.
Atthirawong, W., Bunnoiko, K. & Panprung, W. (2021). Densifying factors influencing visionary leadership: empirical evidence from the Thai manufacturing industry. International Journal of Organizational Leadership, 10(1), 39-53.
Baesu, C. & Bejinaru, R. (2015). Innovative leadership styles and the influence of emotional intelligence. The USV Annals of Economics and Public Administration, Stefan cel Mare University of Suceava, Romania, Faculty of Economics and Public Administration, 15(special), 136-145.
Brown, W.B., & Moberg. D.J. (1980). Organization theory and management: a macro approach. New York: Joho Wiley and Sons.
Cicciu, J.M.V. (2003). Innovative leadership through emotional intelligence. Nurs Manage, 34(10), 28-32.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha? An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology. 78(1), 98-102.
Cronbach, L.J. (1974). Essentials of psychological testing. 3rd edition. New York: Harper & Row.
Denti, L., & Hemlin, S. (2013). What connects leadership and creativity? leadership and innovation: a cross-cultural study of mediating psychological processes. Academy of Management Annual Meeting Proceedings, 1(1), 14300-14300.
Engel, R.J., & Schutt, R.K. (2005). The practice of research in social work. New York: SAGE.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence. New York: Bantam Books.
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York : McGraw
Hughes, D., Lee, A., Tian, A., Newman, A., & Legood, A. (2018). Leadership, creativity, and innovation: A critical review and practical recommendations. The Leadership Quarterly. 29 (5), 1-88. Doi: 10.1016/j.leaqua.2018.03.001.
Imanzadeh, E., Esmaeilzadeh, S., Elyasi, G., & Sedaghati, P. (2012). Relationship between innovative leadership styles and the lake of intervention with managers' emotional intelligence of sport departments. European Journal of Experimental Biology, 2(6), 2390-2396.
Kantabutra, S., & Avery, G.C. (2002) Proposed Model for Investigating Relationships between Vision Components and Business Unit Performance. Journal of Management & Organization, 8(2), 22-39.
Mayfield, R.J., & Mayfield, R.M. (2010). Leader-level influence on motivating language: A two-level model investigation on worker performance and job satisfaction. International Business Journal, 20(5), 407-422.
Osman, N.W., & Kamis, A., (2019). Innovation leadership for sustainable organizational climate in institution of technical and vocational education and training (TVET) in Malaysia. Asian Journal of Assessment in Teaching and Learning, 9 (1), 57-64. https://doi.org/10.37134/ajatel.vol9.no1.6.2019
Patton, J.D. (2002). The role of problem pioneers in creative innovation. Creativity Research Journal, 14(1), 111-126.
Pratolo, S., & Simali, M. (2019). The Influence of Participation In Budget Preparation And Uncertainty Of Environment Towards Managerial Performance Of Village Government Through Organizational Commitment As Moderating Variable (Empirical Study in Bantul Regency). Proceedings of the 5th International Conference on Accounting and Finance (ICAF 2019). DOI:10.2991/icaf-19.2019.26
Robbins, S.P. (2008). Essential of organizational behavior. Upper Saddle, New Jersey: Prentice-Hall.
Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977) On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, 49-60.
Schank, R.C., & Abelson, R.P. (2013). Scripts, Plans, Goals, and Understanding. Erlbaum Associates, Mahway.
Stringer, R. (2002). Leadership and organization climate. New Jersey, NJ: McGraw–Hill
Van Dierendonck, D. (2011). Servant leadership: A review and synthesis. Journal of Management, 37(4), 1228–1261. https://doi.org/10.1177/0149206310380462
Weberg, D. (2013). Innovation leadership behaviors: Starting the complexity journey. Burlington, NJ : Jones & Bartlett Learning
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ