ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham ที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278960

คำสำคัญ:

มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์, แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA), เทคนิคการใช้คำถามของ Badham

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เริ่มจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมถ่ายทอดเป็นแผนภาพแล้วเชื่อมโยงสู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบจากรูปธรรมสู่นามธรรมจนนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาได้ เป็นการช่วยพัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนเกิดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์แบบยั่งยืนให้แก่นักเรียน ประกอบกับการใช้คำถามของ Badham เป็นตัวช่วยสำคัญในการกระตุ้นความคิดเชิงคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนสร้างแนวคิดได้ด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเจ้ามูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham จำนวน 8 แผน แบบทดสอบ วัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ จำนวน 25 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badhum การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัย: พบว่า 1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham มีดังนี้ (1) การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสจับต้องผ่านของจริงหรือแบบจำลอง (2) การให้นักเรียนสร้างแบบจำลองแนวคิดที่มีความชัดเจน ถูกต้อง จะช่วยพัฒนามโนทัศน์ ในการ มองภาพ (3) การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้นักเรียนอธิบายแนวคิดของตนเองจากสื่อที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงไปสู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรม (4) การใช้คำถามของ Badham จะช่วยชี้แนะและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดเชิงคณิตศาสตร์ (5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจับคู่หรือกลุ่มย่อยที่ คละความสามารถ ช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสารผ่านการนำเสนอแนวคิดของนักเรียนในการอภิปรายแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น (6) การให้เวลานักเรียนเพื่อแสดงวิธีทำที่เหมาะสมจะทำให้นักเรียนคิดหาแนวทางในการหาคำตอบได้หลากหลายวิธี (7) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ต้องครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ ใช้การวัดและ การประเมินผลที่หลากหลาย 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็น ต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนสร้างแนวคิดของตนเองจากการเรียนรู้ผ่านสื่อที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมเชื่อมโยงไปสู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรม โดยครูคอยใช้คำถามชี้แนะ และส่งเสริมให้นักเรียนสร้างแนวคิดได้ด้วยตนเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จริยา จันทร์งาม และสิรินาถ จงกลกลาง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 45 (3). : 19 - 33.

จิรรัตน์ จตุรานนท์. (2554). การศึกษาความรู้คณิตศาสตร์ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนของนิสิตนักศึกษาครูศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถาม พัฒนาการคิด คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด.

ณัฐวุฒิ โชติวิญญู. (2564). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete – Pictorial – Abstract (CPA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระนันท์ วัฒนะการกุล และอังคณา ตุงคะสมิต. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงมโนทัศน์วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองยองพิทยาคม รัชมังคลาภิเษกจังหวัดบึงกาฬ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (4), 31 - 39.

เพชรชนก จันทร์หอม. (2562). ผลการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Concrete-Pictorial-Abstract (C-P-A). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิรญาณ์ สาดส่าง. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 15 (2), 193 - 207.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับประถมศึกษา. Retrieved from: https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8378-2560-2551

อัมพร ม้าคนอง. (2558). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Flores, M. M. (2010). Using the concrete-representational-abstract sequence to teacher subtraction with regrouping to students at risk for failure. Remedial and Special Education. 31(3), 195-207.

Haapasalo, L., & Kadijevich, D. (2000). Two types of mathematical knowledge and their relation. Journal fur Mathematik-Didaktik. 21(2), 139-157.

Hoong, L. Y., Kin, H. W., & Pien. C. L. (2015). Concrete-Pictorial-Abstract: Surveying its origins and charting its future. The Mathematics Educator 16(1), 1-18.

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1989). Curriculum and evaluation standards for school mathematics. Reston, Virginia: NCTM.

Pebriani, R. Mulyati, T., & Yuliriatiningsih, M. S. (2016). Penerapan Pendekatan Concrete-Representational-Abstract (CRA) Berbasis Masalah terhadap Kemampuan Pemecahan Masalah Matematis Siswa. Jurnal Antologi. 21(1), 34-44.

Putri, H. E. (2015). The influence of Concrete Pictorial Abstract (CPA) approach to the mathematical representation ability achievement of the preservice teachers at elementary school. International Journal of Education and Research. 3(6), 113-126.

Way, J. (2014). Using questioning to stimulate mathematical thinking. Australian Primary Mathematics Classroom. 13(3), 22-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08

How to Cite

สุขสิงห์ ว. ., จันทรา ช. ., & สมใจเพ็ง ต. . (2024). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิด Concrete Pictorial Abstract (CPA) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของ Badham ที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 781–800. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278960