ผลการจัดกิจกรรมจักสานที่มีต่อความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ธัญญาลักษณ์ ทองแหง ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0000-6277-3883
  • ชลาธิป สมาหิโต สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0000-0002-5312-0562
  • ปัทมาวดี เล่ห์มงคล สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0007-7923-051X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278724

คำสำคัญ:

จักสาน, แบบรูปและความสัมพนธ์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: แบบรูปและความสัมพันธ์จัดอยู่ในสาระที่ควรเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยด้านจำนวนและพีชคณิต มีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผล นำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านจำนวน พีชคณิตและเรขาคณิตในระดับที่สูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมจักสานที่มีต่อ
ความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยทั้งชายหญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมจักสาน จำนวน 24 แผน และ 2) แบบประเมินเชิงปฏิบัติการความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์
เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณา

ผลการวิจัย: เด็กปฐมวัยมีความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การระบุแบบรูป การทำซ้ำ
แบบรูป การต่อเติมแบบรูป และการสร้างแบบรูป เพิ่มขึ้นหลังได้รับการจัดกิจกรรมจักสาน โดยที่เด็กสามารถบอกส่วนประกอบหลักของชุดแบบรูปที่ซ้ำได้ ทำซ้ำแบบรูปได้ดีขึ้น ต่อเติมแบบรูปได้ถูกต้อง สามารถสร้างและอธิบายแบบรูปของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้

สรุปผล: เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมจักสานมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นภเนตร ธรรมบวร. (2549). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิกร นุชเจริญผล. (2525). ลายสาน. วิทยาลัยเทคนิค.

วรัษสฎาพร อินทรธวิช, ชลาธิป สมาหิโต, และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2566). ผลการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ที่มีต่อความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. Journal of Inclusive and Innovative Education, 7(2), 90-103.

วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21 The Essential Work Skills of The 21st Century. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-57.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). เครื่องจักสานในประเทศไทย. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2541). ชุดมรดกศิลปหัตถกรรมไทย เครื่องจักสาน. องค์การค้าของคุรุสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). กรอบการเรียนรู้ และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).

สนไชย ฤทธิโชติ. (2539). เครื่องไม้ไผ่-หวาย. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Irmawati, I., & Ichsan, I. (2021). The Effect of Weaving Activities With Banana Leaves on Fine Motor Ability Early in Childhood. Jurnal Pendidikan Anak Usia Dini. 12(2), 125-135.

Kamaruddin, I., Azis, A., Assabana, S., Ismunandar, A., & Meilina, D. (2022). Improving Early Childhood Fine Motor Development Through Weaving Activities. Journal of Childhood Development. 2(1), 71-79.

Ministry of Education of Singapore. (2013). Nurturing Early Learners A Curriculum for Kindergartens in Singapore Numeracy. Ministry of Education of Singapore.

Ministry of Education of Singapore. (2023). Nurturing Early Learners A Curriculum for Preschool Education in Singapore. Ministry of Education of Singapore.

Sanghvi, P. (2020). Piaget’s theory of cognitive development: a review. Indian Journal of Mental Health 2020. 7(2), 90-96.

The Government of Manitoba. (2013). Kindergarten to Grade 8 mathematics: Manitoba curriculum framework of outcomes. Manitoba Education, Canada.

Van Der Veer, R. (2020). Vygotsky’s theory. In S. Hupp & J.D., Jewell (Eds.), The Encyclopedia of Child and Adolescent Development (PP.1-7). John Wiley & Sons Vygotsky’s sociocultural and bandura social learning theories essay.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

ทองแหง ธ. ., สมาหิโต ช., & เล่ห์มงคล ป. . (2024). ผลการจัดกิจกรรมจักสานที่มีต่อความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 227–238. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278724