The การพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการแบบเปิด
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278543คำสำคัญ:
การคิดทางคณิตศาสตร์, การคิดขั้นสูง, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การสร้างประชากรวัยเรียนให้มีสมรรถนะการคิดขั้นสูง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการแบบเปิด
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 42 คน จาก 2 โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ภายใต้บริบทการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2557) ข้อมูลวิจัย ได้แก่ โพรโตคอลการสอนและการสะท้อนผล บันทึกหลังสอน ภาพถ่าย และผลงานของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์โพรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) วิเคราะห์แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 2) วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาจากแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนไปสู่การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ผลการวิจัย: การวิเคราะห์แนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้น พบว่า มีแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย แนวคิดเรื่องกลุ่ม แนวคิดของการแสดงแทน แนวคิดเรื่องการดำเนินการ แนวคิดเรื่องขั้นตอนวิธี และแนวคิดของการใช้นิพจน์ และเมื่อวิเคราะห์กระบวนการคิดของนักเรียนที่คิดเกี่ยวกับแนวคิดที่เกิดขึ้น พบว่า นักเรียนสามารถตระหนักถึงการคิดเกี่ยวกับแนวคิดที่เกิดขึ้น และสรุปเป็นวิธีการเรียนรู้ร่วมกันได้ในช่วงท้ายของการสอนได้ในแต่ละคาบ
สรุปผล: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการแบบเปิด สามารถพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนได้ โดยนักเรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นของตนเอง และนักเรียนสามารถตระหนักถึงการคิดเกี่ยวกับแนวคิดที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้ จากการให้นักเรียนได้อภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของตนและของเพื่อน จนนำไปสู่การสรุปเป็นวิธีการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนได้
References
กมลพร ทองธิยะ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง: ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19(2), 28-44.
กิตติศักดิ์ ใจอ่อน และกตัญญุตา บางโท. (2562). การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่องพื้นที่ โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(1), 28-37.
พิมพ์ผกา อินทะรส, ชนิกา เสนาวงค์ษา และสรินยา ไชยวงศ์. (2564). การเรียนรู้เครื่องมือในการเรียนรู้ของนักเรียนในตารางการคูณของ 2 ถึง 5. ใน ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (บ.ก.), 2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 7 (น. 106). สมาคมคณิตศาสตรศึกษา.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: บริษัท เพ็ญพรินติ้ง จำกัด.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2562). คณิตศาสตร์สำหรับระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2565). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ไอ-ปริ้นท์ ดีไซน์ จำกัด.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2567). การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด : PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน ใน ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (บ.ก.), การประชุมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 17 (น. 47-62). สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สมรรถนะการคิดขั้นสูง(Higher Order Thinking:HOT). Retrieved on 10 July 2023 from https://cbethailand.com/หลักสูตรฐานสมรรถนะ/สมรรถนะหลัก-5-ประการ/สมรรถนะการคิดขั้นสูง/
Collins, R. (2014). Skills for the 21st Century: Teaching Higher-Order Thinking. Curriculum & Leadership Journal. 12(14), 1-8
Hamzah, H., Hamzah, M.I., & Zulkifli, H. (2022). Systematic Literature Review on the Elements of Metacognition-Based Higher Order Thinking Skills (HOTS) Teaching and Learning Modules. Sustainability. 14(2), 1-15. https://doi.org/10.3390/su14020813 DOI: https://doi.org/10.3390/su14020813
Haryati, S., Trisnowati, E., Siswanto, S., & Al Firdaus, M.M. (2021). Identifying Higher-Order Thinking Skills on Lesson Plan: How Do Teachers Construct the Lesson Plan?. Tadris: Jurnal Keguruan dan Ilmu Tarbiyah. 6(2), 277-285. https://doi.org/10.24042/tadris.v6i2.8828 DOI: https://doi.org/10.24042/tadris.v6i2.8828
Inprasitha, M. (2022). Lesson study and open approach development in Thailand: a longitudinal study. International Journal for Lesson and Learning Studies. 11(5), 1-15. https://doi.org/10.1108/IJLLS-04-2021-0029 DOI: https://doi.org/10.1108/IJLLS-04-2021-0029
Isoda, M. & Katagiri, S. (2012). Mathematical Thinking how to Develop it in the Classroom. Singapore: World Scientific Publishing. DOI: https://doi.org/10.1142/8163
Lester, F.K. (1994). Musings about mathematical problem-solving research 1970-1994. Journal for Research in Mathematics Education. 25, 660-675. DOI: https://doi.org/10.5951/jresematheduc.25.6.0660
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ