ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

ผู้แต่ง

  • รุ้งรัตตา วรรณเสถียร วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0003-1487-0875
  • สุวิจักขณ์ มั่นสารนียธรรม วิทยาลัยนครราชสีมา https://orcid.org/0009-0006-5906-3526

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278094

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิง; , ผู้นำเชิงเทคโนโลยี; , ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของสถานศึกษา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ผู้บริหารควรมี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารตามอายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร การวิจัยนี้ครอบคลุมทั้งการประเมินสถานะปัจจุบัน การเปรียบเทียบ และการพัฒนาแนวทางเพื่อปรับปรุงภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน ซึ่งถูกสุ่มแบบแบ่งกลุ่มตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 โดยใช้ข้อมูลสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารตามตำแหน่งพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามอายุและประสบการณ์ทำงานพบว่าไม่มีความแตกต่าง (3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนความเสมอภาคและการเป็นพลเมือง การวางแผนกำหนดวิสัยทัศน์ การเสริมสร้างศักยภาพ การออกแบบระบบ และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

สรุปผล: จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยทั่วไปมีความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีในระดับสูง เพื่อที่จะปรับปรุงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี พวกเขาควรจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการวางแผนวิสัยทัศน์ การสร้างระบบสนับสนุน ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมความเท่าเทียมกัน

References

กัญญาภัค จูฑพลกุล และทัศนะ ศรีปัตตา. (2565). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(10), 271-284.

เกิดศักดิ์ ศิริมาตยาพันธุ์ และรุจิราพรรณ คงช่วย. (2565). ภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง. วารสารครุพิบูล. 9(1), 125-135.

จีระศักดิ์ ชุมภู. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย จังหวัดเชียงราย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นิศาชล บำรุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา): มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชวุธปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริย์ติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ฤทธิกร โยธสิงห์, อัจฉรา นิยมาภา และวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(38), 145-154.

วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเหด หมัดอะดัม และสุนทรี วรรณไพเราะ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

International Society for Technology in Education (2018). ISTE STANDARDS FOR EDUCATION LEADERS. Retrieved from: https://www.iste.org/standards/foreducationleaders.

Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

วรรณเสถียร ร. ., & มั่นสารนียธรรม ส. . (2024). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 155–170. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278094