คุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ที่ทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y

ผู้แต่ง

  • กัณฐญา สงวนวงษ์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0000-0482-7820
  • ลดาวัลย์ ไข่คำ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0000-0001-9615-6998

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278074

คำสำคัญ:

ทัศนคติ; , คุณภาพชีวิต; , ความสมดุลของชีวิต; , ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์; , เจเนอเรชั่น X; , เจเนอเรชั่น Y

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สัตวแพทย์เป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย และคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตในการทำงานเป็นแนวคิดที่มีความแพร่หลายในปัจจุบัน ดังนั้นหากองค์กรมีความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความสุขในการปฏิบัติงานของสัตวแพทย์ จะเกิดประโยชน์แก่บุคลากรและองค์กร โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิต ของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: เจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y และ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิต ของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของทั้งสองเจเนอเรชั่น

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้ใช้วิธิวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และใช้คำถามปลายเปิด ( Open-ended questions) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผู้ร่วมวิจัยได้แก่  ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตแพทย์ เจเนเรชั่น X ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ จำนวน 5 คน และปฏิบัติงานในภาคเอกชน จำนวน 5 คน และผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ เจเนเรชั่น Y ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐบาล จำนวน 5 คน และปฏิบัติงานในภาคเอกชน จำนวน 5 คน รวม 20 คน

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y มีคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตแตกต่างกัน  ในด้านความแตกต่างของคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิต พบว่าผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น X ที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชน มีคุณภาพชีวิตและความสุมของชีวิตในการทำงานมากกว่าผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น X ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ เนื่องจากอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ค่าตอบแทน สถานะทางสังคม ตำแหน่งบริหาร เจ้าของธุรกิจ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตและความสมดุลในการทำงานเพิ่มขึ้น และความแตกต่างของคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น Y ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐบาล มีคุณภาพชีวิตในการทำงานมากกว่าผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น Y ที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชน เนื่องจาก ความก้าวหน้าและการพัฒนาในอาชีพของภาครัฐชัดเจน เป็นระบบกว่าภาคเอกชน ถึงแม้ว่าจำนวนชั่วโมงในการทำงานจะมากกว่า แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลดีต่อตัวเองในการก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ถึงแม้ว่าค่าตอบแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น Y ที่ปฏิบัติงานในภาคเอกชนจะสูงกว่า แต่ภาครัฐบาลสนับสนุนสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล การวางแผนเกษียณมากกว่าภาคเอกชนกัน

สรุปผล: ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและภาคเอกชน มีทัศนคติเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตที่แตกต่างกัน และมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งในการสร้างคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตในการทำงาน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยด้านความก้าวหน้าและพัฒนา ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปัจจัยด้ายพื้นฐานความสมดุลของชีวิต มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ภาคเอกชนควรปรับปรุงนโยบายในการทำงาน และมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตในการทำงานและควรปรับปรุงในเรื่องของสิทธิสวัสดิการให้กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อสร้างความพึงพอใจในสวัสดิการและส่งผลต่อผูกพันต่อองค์การ และภาครัฐควรปรับปรุงในเรื่องของค่าตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในองค์การ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เข้ามาทำงานมากยิ่งขึ้น

References

นงลักษณ์ โพธิ์น้อย, พรเพ็ญ เผือกเอม, โชติมากานต์ ไชยเยศ, และปานวาด ปรียานนท์. (2565). คุณภาพชีวิตและสมดุลชีวิตในงานของผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์: การศึกษาภาคตัดขวาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(3), 62-76.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์, และสายสุนีย์ เกษม. (2562). สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของกลุ่มวัย. วารสารนักบริหาร, 39(1), 3-11

พรเพ็ญ เผือกเอม, และกาญจณา ประสงค์. (2564). ทัศนคติในการประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 8(1), 29-35

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สำนักวิจัย. (2013). บทสังเคราะห์งานวิจัย คุณภาพชีวิตของคนไทย 2553-2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัตวแพทย์สภา. (2565). บัญชีผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา. กรุงเทพฯ: สัตวแพทย์สภา.

Chua, Hazel Pei Cherz (2022). Analysing The Impact Of Covid 19 And Firm Performance: A Case Study Of Pet Foods Firms In Malaysia. UTAR.

Jopling, J. (2004). Understanding Generations, Extension. Retrieved 1 April 2024, from https://talentdepot.org/uploads/Understanding_Generations_West_Virginia.pdf

Walton, R.E. (1973). Quality of working life: what is it. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.

Yaktavong, T., Supparerkchaisakul, N., & Priya Mohan, K. (2022). THE APPLICATION OF WORK-LIFE BALANCE FOR PRIVATE ORGANIZATION EMPLOYEES. Journal of Buddhist Anthropology, 7(8), 14–27. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/259892

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08

How to Cite

สงวนวงษ์ ก., & ไข่คำ ล. (2024). คุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ที่ทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 109–120. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.278074