รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศิริพงษ์ ศิริชัยวัฒนกุล คณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-5370-8233
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ คณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5265-401X
  • กฤษกนก ดวงชาทม คณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-3540-0783

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277903

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา; , การจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษ; , โรงเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: การเปิดห้องเรียนพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ประกอบกับกฎกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาโดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษาที่มีความพร้อมทางด้านบุคลากรและงบประมาณสามารถเปิดห้องเรียนพิเศษได้ ห้องเรียนพิเศษจึงมีความหมายว่าเป็นห้องเรียนที่สถานศึกษามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ โดยดำเนินการตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เพื่อสร้างและและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และกลุ่มผู้ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการ 2) หลักสูตรและวิชาการ 3) สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 4) บุคลากรและงบประมาณ และ 5) คุณภาพผู้เรียน 2. สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้ 1) หลักสูตรและวิชาการ 2) บุคลากรและงบประมาณ 3) สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 4) คุณภาพผู้เรียน และ 5) การบริหารจัดการ ตามลำดับ และ 3. รูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล มีหน่วยการเรียนรู้ 4 Modul ได้แก่ Module 1 หลักสูตรและวิชาการ Module 2 บุคลากรและงบประมาณ Module 3 สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ Module 4 คุณภาพผู้เรียน Module 4 การบริหารจัดการ โดยรูปแบบมีผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล การจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนในปัจจุบันยังมีปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษอยู่ในหลายด้านทั้งในการบริหาร การวิจัยในการพัฒนารูปแบบการบริหาร เพื่อหารูปแบบในการบริหารที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการบริหาร วางรูปแบบการดำเนินงานในแต่ละด้าน และหาจุดที่ควรเร่งรัดพัฒนาโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผู้เรียน มีหลักสูตรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และจะต้องมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการเป็ดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิสซัพพลาย.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). “การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก” ในเอกสารประกอบ การสอนวิชาสัมมนาการศึกษาระดับปริญญาเอก. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สันติ บุญภิรมย์. (2556). การบริหารจัดการในห้องเรียน CLASSROOM MANAGEMENT. ยะลา : โอ.เค.คอมพิวเตอร์แอนด์ปริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การติดตามและประเมินผลการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักบริหารมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมี งานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริกร ไชยราช. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, T.P. (1997). “Using Models of Instruction. In C. R. Dills and A. J. Romiszowski (eds)”. Instructional Development Paradigms. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd edition. New York: Harper & Row.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10 (4), 135-150.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2011). Models of Teaching. Boston MA: Pearson Education, Inc.

Maker, C., June, N., &Aleene, B. (1995). Teaching Models in Education of the Gifted. 2nd edition, Texas: PRO-ED.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

How to Cite

ศิริชัยวัฒนกุล ศ. ., เรืองสุวรรณ ช. ., & ดวงชาทม ก. (2024). รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 409–426. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277903