the การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี : กรณีศึกษา แปลงใหญ่ทุเรียนสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277830

คำสำคัญ:

การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียน; , มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี; , แปลงใหญ่ทุเรียน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งผลิตปลูกทุเรียนมากเป็นอันดับห้าของประเทศ โดยมีผลผลิตรวมในปี 2566 จำนวน 80,959 ตันแหล่งผลิตหลักอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ และอำเภอพิปูน ซึ่งในพื้นที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรรมราช เกษตรกรได้รวมตัวกันเพื่อเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในพื้นที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนแปลงใหญ่ในพื้นที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี

ระเบียบวิธีวิจัย: ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการศึกษา โดยใช้เครื่องมือแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 10 คน ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรสวนทุเรียนที่พัฒนาคุณภาพทุเรียนสู่มาตรฐานทางการเกษตรที่ดีของจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มเกษตรกรสวนทุเรียนในพื้นที่ตำบลสี่ขีดที่ดำเนินการหรือมีความสนใจพัฒนาคุณภาพทุเรียนสู่มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี และกลุ่มนักวิชาการและปราชญ์ชุมชนด้านการพัฒนาคุณภาพทุเรียนสู่มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย: การผลิตทุเรียนแปลงใหญ่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ในพื้นที่ตำบลสี่ขีด พบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติได้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐาน ทางการเกษตรที่ดี (GAP) ทั้งด้าน (1) ด้านแหล่งน้ำ (2) ด้านพื้นที่ปลูก (3) ด้านการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร (4) ด้านการเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผล (5) ด้านการบันทึกข้อมูล (6) ด้านการผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช (7) ด้านการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ และ (8) ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ส่วนผลการศึกษาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนแปลงใหญ่ในพื้นที่ตำบลสี่ขีด พบว่า (1) ด้านแหล่งน้ำควรมีการพัฒนาระบบน้ำอัจฉริยะ (2) ด้านพื้นที่ปลูกควรพัฒนาตามมาตรฐาน GAP (3) ด้านการใช้วัตถุอันตรายควรอบรมให้ความรู้เกษตรกร (4) ด้านการเก็บรักษา ควรมีการฝึกอบรมการเก็บรักษา (5) ด้านการบันทึกข้อมูล ควรกำหนดรูปแบบของการบันทึกข้อมูลที่ชัดเจน (6) ด้านการผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคศัตรูพืช (7) ด้านการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ ส่งเสริมให้เกษตรกรรายใหม่ และ (8) ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ควรมีการอบรมวิธีการดูผลผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

สรุปผล: เกษตรกรตำบลสีขีดมีความเป็นเลิศในด้านแหล่งน้ำ การจัดการศัตรูพืช และเทคนิคการเก็บเกี่ยว และพวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP สำหรับแปลงทุเรียนขนาดใหญ่ ขอแนะนำให้สร้างระบบน้ำอัจฉริยะ เสนอการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการและการจัดเก็บวัตถุอันตราย และสร้างรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อปรับปรุงคุณภาพต่อไป

References

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2551). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). คู่มือการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. Retrieved 30 November 2023, from: www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER057/.../00000233.PDE

นุจรี ภานุมาศ. (2563). การส่งเสริมการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทรา ข่ายม่าน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่ระบบมาตรฐานปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2551). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 3-2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ:

สุนิสา ช่วยสุข. (2565). การส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกร ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Khan, A.A. (2012). Determinants of firm growth: evidence from Belgian companies. Master of Science: UNIVERSITEIT GENT, FACULTEIT ECONOMIE EN BEDRIJFSKUNDE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-18

How to Cite

เมืองมุสิทธิ์ อ., ไกรวาส ก. ., บุญสวยขวัญ ร. ., & สุขหอม อ. . (2024). the การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานทางการเกษตรที่ดี : กรณีศึกษา แปลงใหญ่ทุเรียนสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 607–620. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277830