การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างภาพเคลื่อนที่แบบหยุด (Stop Motion) เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277390

คำสำคัญ:

การสร้างภาพเคลื่อนที่แบบหยุด, ทักษะศตวรรษที่ 21, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติต่อวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สื่อที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ช่วยผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างภาพการเคลื่อนที่แบบหยุด (Stop Motion) และ 3) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างภาพการเคลื่อนที่แบบหยุด
(Stop Motion)

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน จำนวน 29 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 และ 4) แบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การสร้างภาพเคลื่อนที่แบบหยุด (Stop Motion) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2) ผลการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 (0.09) อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 (0.08) อยู่ในระดับมาก  

สรุปผล: การใช้สื่อเทคโนโลยีการสร้างภาพเคลื่อนที่แบบหยุด (Stop Motion) ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 และมีแรงจูงใจมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

References

กรรณภรณ์ ปิยะจันทร์, พัชรี สุทำ, ดวงจันทร์ แก้วกงพาน และชิสาพัชร์ ชูทอง. (2564). การศึกษาพัฒนาการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(10), 30-42.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 – 2565. Retrieved June 18, 2024, from: https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf

กิตติยา ปลอดแก้ว. (2567). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรการศึกษาสำหรับนักศึกษาครู. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 4(1), 835-850.

กีรติ แจ้งชะไว, สิทธิชัย วิชัยดิษฐ และพุุทธิชาด อังณะกู. (2566). การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองด้วยสื่อเคลื่อนไหว Stop-motion ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสร้างแบบจำลอง เรื่อง การส่งกระแสประสาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่่ 6. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 36(1), 54-71.

จิระ จิตสุภา. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค THINK-PAIR-SHARE-SHOW ร่วมกับการสร้างสรรค์แอนิเมชันด้วยเทคนิค STOP MOTION. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(4), 322-328.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, ชิสาพัชร์ ชูทอง และชนันกาญจน์ สุวรรณเรือง. (2566). การศึกษาผลการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 6(2), 94-107.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นใน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(2), 21-24.

ธมนวรรณ เทาศิริ และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2564). การพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Lawarath Social E-Journal. 3(3), 65-79.

นภัสวิรรณ์ สุพัตร, เอกนฤน บางท่าไม้ และสิทธิชัย ลายเสมา. (2567). การเรียนรู้เชิงรุกวิถีใหม่ เพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้บนโลกเสมือนจริง. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(21), 22-34.

นันท์นภัส นิยมทรัพย์ และคณะ. (2566). มุมมองของครูประจำการด้านการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหา ผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี. ครุศาสตร์สาร, 17(2), 203-217.

นิสิต ชำนาญเพชร สิรินภา กิจเกื้อกูล และมลิวรรณ นาคขุนทด. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เคลย์แอนิเมชั่นร่วมกับการจัด การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่ส่งเสริมการพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 183-197.

พัชรพรรณ ประสานเนตร และวิมล สําราญวานิช. (2557). ตัวแทนความคิด เรื่องการแบ่งเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการสร้าง Slowmation. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 91-98.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์, สุภาณี เส็งศรี และเกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์.(2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง, 9(1), 64-73.

รังสินี พูลเพิ่ม, จันทนา โปรยเงิน, แสงจันทร์ สุนันต๊ะ และนนทิกา พรหมเป็ง. (2561). ประสิทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 126-136.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 373-385.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิริยะ ฤาชัยพานิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคตเปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

ศักดิ์ศรี สืบสิงห์. (2566). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ CODING สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(2), 14-24.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Retrieved June 18, 2023, from: https://www.obec.go.th/archives/813787

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนัดดา โยมญาติ. (2561). การสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วย Stop Motion. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 46(212), 6-11.

อดิเทพ แจ้ดนาลาว. (2562). เทคโนโลยีด้านสื่อปฏิสัมพันธ์. Retrieved November 21, 2023, from: https://www.spu.ac.th/uploads/contents/20161216111200.pdf.

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติกส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรม และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 2555-2566.

อัครพล ไชยโชค, ปัทมาวดี เล่ห์มงคล และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 164-176.

Hoban, G., & Nielsen, W. (2010). The 5 Rs: A new teaching approach to encourage locations (student-generated animations) of science concepts. Teaching Science, 56(3), 33-38.

Hoban, G.F. (2007). Using slow-motion to engage preservice elementary teachers in understanding science content knowledge. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 7(2), 75- 91.

Yaemkhayai, C. (2023). Development of a workshop training program to enhance the ability to design pro-active learning management by using challenge-based learning together with a gamification approach for pre-service teachers. Panyapiwat Journal, 15(3), 253-272

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

แก้วกงพาน ด. ., บุญเทพ ก. ., ตุ่นเครือ ป. ., ชูทอง ช. ., คฤหานนท์ ว. ., & ไทยสุชาติ ห. . (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างภาพเคลื่อนที่แบบหยุด (Stop Motion) เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดลำพูน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 265–280. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277390