การเรียนรู้แบบผสมผสาน: ทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผล
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277283คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน;, การทบทวนทฤษฎีอย่างครอบคลุม; , การฝึกปฏิบัติบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้แบบผสมผสานจะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้ ทำให้ผู้สอนสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการปรับปรุงผลลัพธ์การสอนและการเรียนรู้ สำหรับแนวคิดทฤษฎี การปฏิบัติและประสิทธิผลที่เป็นปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ร่วมกันนำไปสู่สภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จและครอบคลุมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสานในเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผล
ระเบียบวิธี: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ บทความ หนังสือ เอกสารการประชุม และสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลอย่างละเอียดและครอบคลุม ผลการศึกษาจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน จากมุมมองที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยในเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลประกอบด้วยหลายมิติ ดังนี้ (1) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1.1) ภาพรวมของทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสาน 1.2) มุมมองของคอนสตรักติวิสต์และสังคมวัฒนธรรม 1.3) การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสานในการออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (2) แนวปฏิบัติของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 2.1) รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2.2) แนวทางการนำการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในบริบททางการศึกษา 2.3) การบูรณาการการเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบเผชิญหน้าและแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิผล (3) ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Effectiveness of Blended Learning) ประกอบด้วย 3.1) งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3.2) ผลกระทบที่มีต่อการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของผู้เรียน 3.3) การเปรียบเทียบกับการสอนแบบตัวต่อตัวแบบดั้งเดิมและแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ และ 3.4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน อย่างไรก็ดีการนำการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้มีอุปสรรคหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การนำไปใช้การยอมรับ การขาดความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
สรุปผล: ความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความสำคัญในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ เพราะสอดคล้องกับบริบททางการศึกษาในยุคดิจิทัล และสามารถช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จและมีความพึงพอใจในการเรียน ถึงแม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่สามารถแก้ได้ด้วยการดำเนินการเชิงรุก
References
Bates, A. W., & Sangra, A. (2011). Managing technology in higher education: Strategies for transforming teaching and learning. John Wiley & Sons.
Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2006). The handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. John Wiley & Sons.
Driscoll, M. (2002). Blended learning: Let's get beyond the hype. E-learning, 1(4), 1-4.
Garrison, D. R., & Anderson, T. (2003). E-learning in the 21st century: A framework for research and practice. Routledge.
Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2008). Blended learning in higher education: Framework, principles, and guidelines. John Wiley & Sons.
Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2018). Blended learning in higher education: Framework, principles, and guidelines. John Wiley & Sons.
Garrison, D. R., Anderson, T., & Archer, W. (2000). Critical inquiry in a text-based environment: Computer conferencing in higher education. The Internet and Higher Education, 2(2-3), 87-105.
Gikandi, J. W., Morrow, D., & Davis, N. E. (2011). Online formative assessment in higher education: A review of the literature. Computers & Education, 57(4), 2333-2351.
Graham, C. R. (2006). Blended learning systems: Definition, current trends, and future directions. Handbook of blended learning: Global perspectives, local designs, 3-21.
Horn, M. B., & Staker, H. (2015). Blended: Using disruptive innovation to improve schools. John Wiley & Sons.
Means, B., Toyama, Y., Murphy, R., Bakia, M., & Jones, K. (2013). Evaluating evidence-based practices in online learning: A meta-analysis and review of online learning studies. US Department of Education.
Oliver, M., & Trigwell, K. (2005). Can ‘blended learning be redeemed? E-Learning, 2(1), 17-26.
Piaget, J. (1970). Science of education and the psychology of the child. Orion Press.
Picciano, A. G. (2016). Blended learning: Research perspectives (Vol. 2). Routledge.
Puentedura, R. (2006). Transformation, technology, and education. Retrieved from http://www.hippasus.com/rrpweblog/archives/000025.html
Tucker, C. (2012). Blended learning in grades 4–12: Leveraging the power of technology to create student-centered classrooms. International Society for Technology in Education.
Vaughan, N. D., Cleveland-Innes, M., & Garrison, D. R. (2013). Teaching in blended learning environments: Creating and sustaining communities of inquiry. Athabasca University Press.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Harvard University Press.
Watson, J., Gemin, B., & Ryan, J. (2008). Keeping pace with K–12 online learning: A review of state-level policy and practice. North American Council for Online Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ