ปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาที่ส่งผลต่อการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อิทธิกร บัวทอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐศประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0001-1726-8957
  • สิทธิพรร์ สุนทร คณะรัฐศาสตร์และรัฐศประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-3195-833X
  • สมเกียรติ เกียรติเจริญ คณะรัฐศาสตร์และรัฐศประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-2447-3738

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277220

คำสำคัญ:

ปัจจัยบุคคล; , ผู้ให้การบริการ; , ผู้ใช้น้ำประปา; , นราธิวาส

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การประปาส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาตาม พ.ร.บ. กปภ. พ.ศ. 2522 โดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาที่ส่งผลต่อการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามเพื่อนำมาพัฒนาการให้บริการที่ดีต่อไป การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาในการให้บริการของการประปา (2) ระดับการให้บริการของการประปา (3) ปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาที่ส่งผลต่อการให้บริการ (4) ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 381 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) โดยวิธี Enter อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และข้อเสนอแนะผู้วิจัยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ และพรรณนาความ

ผลการวิจัย: (1) ระดับปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาในการให้บริการของการประปา อยู่ในระดับน้อย (2) ระดับการให้บริการของการประปา อยู่ในระดับมาก  (3) ปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาที่ส่งผลต่อการให้บริการ อยู่ในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี ตัวแปรที่เข้าสู่สมการที่ดีที่สุดของการวิเคราะห์พหุถดถอย ได้แก่ สถานภาพ สามารถพยากรณ์โดยรวม  .420 (R =.420) ตัวแปรอิสระสามารถอธิบายการแปรผันของตัวตามได้เท่ากับร่อยละ 17.6 มีค่า R2 = .176 และมีค่า F = 8.815 ซึ่งแสดงว่าตัวแปรอิสระไม่ส่งผลการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (4) ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม คือ ปรับปรุงการทำงานด้านงานบริการให้สะดวกรวดเร็วเพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับประโยชน์สูงสุด

สรุปผล: การศึกษาพบว่าแม้การประปานครหลวงจะทำงานได้ดีเป็นพิเศษ แต่ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาก็มีผลกระทบต่อการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม ตัวแปรอิสระดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการโดยรวมของการประปาส่วนภูมิภาค บ่งชี้ว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพและความสะดวกในการให้บริการมีความจำเป็นต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า

References

กฤษฎิ์ลภณ การมิตรี และ สงจิตต์ ไต่แสง. (2565). ปัจจัยบริการที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) สาขาท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฎอยุธยา.

การประปาส่วนภูมิภาค. (2565). คู่มือมาตรฐานการให้บริการของ การประปาส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: การประปาส่วนภูมิภาค.

ชนาธิป ครรชิต. (2559). คุณภาพการบริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาหาดใหญ่. หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นรากร รุจินันทพรกุล. (2557). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

พัชรี กวีกิจบรม. (2558). ปัจจัยในการขอสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสินของผู้ค้าในตลาดเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสยาม.

อนุรักษ์ ทองขาว สยานนท์ สหุนันต์ พรรณภัทร แซ่โท้ว ศักดา กาญจนวนาวัลย์ อมราวดี ไชยโย. (2564). การเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 7(2), 98-112.

Gronroos, C. (1990). Service Management and Marketing. Managing the Moments of Truth in Service Competition. Lexington MA: Lexington Books.

Karbowiak, P. (2005). Marketing a Technical Business. Journal of Water Supply, 3(2), 433 - 440.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1985). A conceptual model of service quality and its implication for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: a multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Yamane, Taro. (1988). Statistics and Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

บัวทอง อ. ., สุนทร ส. ., & เกียรติเจริญ ส. . (2024). ปัจจัยบุคคลของผู้ใช้น้ำประปาที่ส่งผลต่อการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(4), 939–952. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277220